Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นิทาน"มัวซัวตัวดูดฝัน"



มัวซัวตัวดูดฝัน
ชื่นกันทั้งวัน ฝันกันทุกคืน
แม้หลับหรือตื่น เมื่อคืนฝันอะไร
ฝันร้ายหรือฝันดี ดูซิ ดูซี มีตัวดูดฝัน


มัวซัวตัวดูดฝัน
ชื่นกันทั้งวัน ฝันกันทุกคืน
แม้หลับหรือตื่น เมื่อคืนฝันอะไร
ฝันร้ายหรือฝันดี ดูซิ ดูซี มีตัวดูดฝัน











      มูลนิเด็กจัดประกวดภาพประกอบนิทานครั้งที่ 3 มีนิทานให้เลือกสามเรื่อง หนึ่งในนั้นคือนิทาน"มัวซัวตัวดูดฝัน"ที่เลือกมาทำภาพประกอบ อ่านแล้วชอบ สนุกด้วย แต่ยังลังเลเพราะมันยากที่ต้องออกแบบยังไงให้หน้าตาพ่อมด มัวซัว มีสองหน้าสองอารมณ์ในตัวเดียวกัน ผู้แต่ง มนชญา ดุลยากร เก่งมากจินตนาการเก่ง แต่งแบบไม่เกรงใจว่าคนวาดจะวาดได้หรือเปล่า เสก็ตออกแบบอยู่หลายๆครั้งกว่าจะลงตัว (จะพยายามหาเสก็ตที่ออกแบบตัวแรกๆมาให้ดู...อีกแล้วครับท่าน) ส่วนลายเสื้อพ่อมด ได้จากตุ๊กตากระดาษรูปแมวของญี่ปุ่น ผสมผสานกันจนลงตัว




รูปแมวกระดาษ ทำเป็นตุ๊กตากระดาษตามแบบจากหนังสือดีไซน์ ของญี่ปุ่นแล้วเอาลายมาใช้เป็นแบบเสื้อ พ่อมดมัวซัว


       เรื่องของพ่อมดแคระ ที่มีหน้าตาสองด้าน ด้านหนึ่งน่าเกลียดอัปลักษณ์อีกด้านหน้าตาสวยงามอ่อนโยน ที่หน้าตาของพ่อมดเป็นอย่างนี้เพราะผลจากการดูดฝันของเด็กๆนั่นเองถ้าดูดฝันร้ายก็จะหน้าตาน่าเกลียด ถ้าดูดฝันดีหน้าตาจึงได้งดงาม จึงมีชื่อว่า "มัวซัวตัวดูดฝัน" พ่อมดสามารถเหาะไปไหนมาไหนก็ได้ และสิ่งที่มันชอบคือการดูดฝันของนางฟ้า สามพี่น้อง ที่เฝ้าปลูกความฝันแล้วส่งมายังโลก นางฟ้าทั้งสามจึงโกรธเจ้าพ่อมดแล้ววางแผนจับพ่อมดขังในบ้านที่ต้องใช้กุญแจสุริยคาสเปิด แต่เรื่องราวยิ่งเลวร้ายลงเมื่อไม่มี พ่อมดมัวซัว จึงทำให้เด็กๆฝันดีฝันเด่น ไม่ใช่ๆฝันดีฝันร้ายต่างหาก ประตูบ้านที่ขังพ่อมดก็ต้องรอวันที่โลกมนุษย์มืดตอนกลางวัน จึงจะเปิดเองได้ สุดท้ายจะเกิดอะไรขึ้นเด็กๆจหลุดพ้นจากฝันเหล่านั้นได้หรือไม่ มีลิงก์นิทานเรื่องนี้อยู่ข้างล่างเปิดไปฟังไม่ต้องอ่านได้เลย
       พูดถึงการออกแบบตัวเอกพ่อมดมัวซัวตัวนี้ ออกสไตล์ อินโดนีเซีย มากกว่าแบบไทยๆ แล้วได้รับรางวัล ชนะเลิศจากการประกวดปี 2542 แต่พิมพ์เดือนเมษยน ปี 2543 ถือเอาปีที่พิมพ์ ครบรอบ 10 ปีไปแล้ว ยังไม่มีการพิมพ์ครั้งที่ 2 (จำได้ว่าเป็นปีสุดท้ายที่งานสัปดาห์หนังสือจัดที่คุรุสภา หลังจากนั้นปีถัดมาก็จัดที่ศูนย์ประแห่งชาติสิริกิติ์ เรื่อยมาจนทุกวันนี้) เบื้องหลังกว่าจะได้พิมพ์ สำนักพิมพ์ ให้วาดเพิ่มอีกตั้ง 3 ภาพ แต่สุดทายสำนักพิมพ์ ไม่ใช้อีกแล้ว เสียดายมากแล้วไม่ได้คืนเหมือนเดิม ถือเป็น unseen ถ่ายรูปเก็บไว้มาลงให้ดู ไม่มีปัญหาลิขสิทธ์ เพราะสำนักพิมพ์ไม่เอามาใช้ ไม่มีอยู่ในนิทาน










                 
                       ตอนแรกภาพนี้ทางสำนักพิมพ์จะทำเป็นปก แต่เปลี่ยนใจไม่ใช้





ทีนี้ก็ลองฟังนิทานออนไลน์ เรื่อง มัวซัวตัวดูดฝัน เนื้อเรื่องก็แตกต่างไปบ้างตามนี้เลยครับ http://www.ffc.or.th/tales/work004.php

ไม่มีความคิดเห็น: