Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดงานเขียนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 13 ปี 2555

 
 
        กติกาการประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด รายละเอียด
       และโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการการประกวดงานเขียน
     รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ. 2555 ดูได้เลยครับ
        
 
 
 
          
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นิทานเรื่อง "คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม" หนังสือภาพสำหรับเด็กยอดเยี่ยม รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 12 ปี 2554












             รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 12 ประจำปีพุทธศักราช 2554 ได้เปิดรับต้นฉบับประกวด จำนวน 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือภาพสำหรับเด็ก วรรณกรรมเยาวชน สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 และ ปิดรับต้นฉบับในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ในส่วนของหนังสือภาพสำหรับเด็ก คณะกรรมการรอบคัดเลือกได้คัดสรรต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวด และประกาศรายชื่อหนังสือภาพสำหรับเด็กที่สมควรเข้ารอบคัดเลือก (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) จำนวนทั้งหมด 9 ชื่อเรื่อง

๑. ก้อก ก้อก ก้อก
๒. ก้อนเมฆเหมือนตัวอะไรนะ
๓. คุณช้างโต หัวใจกระจิดริด
๔. ชีวิต ฮ. นกฮูก
๕. ดินสอไม้ ปลายยางลบ
๖. น้ำเข้าไปในลูกมะพร้าวได้ยังไง
๗. นิทานก้อนเมฆ
๘. ให้ใจ
๙. Sweet Story เรื่องหวานๆของตาล ตาล กับคุณยาย


            นิทานเรื่อง "คุณช้างโต หัวใจกระจิดริด" ได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 12 ประจำปีพุทธศักราช 2554 และคณะกรรมการได้ปรับเปลี่ยนชื่อเรื่องให้เหมาะกับเนื้อหาของเรื่อง ให้ชื่อใหม่ว่า "คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม"
















         ภาพเสก็ตนิทาน “คุณช้างโตฯ........” เพิ่งเจอหลังน้ำท่วม เอามาลงเพิ่มเติม (22 ก.พ. 2556)









                  ภาพนี้ถ่ายเอาจะเห็นพื้นผิวชัดเจนแต่เวลาพิมพ์ กลับมองไม่เห็นน่าเสียดาย




              นิทานเรื่อง "คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม" เรื่องนี้ทำต่อเนื่องจากนิทานเรื่อง "ไม่ทำแล้วครับ" ที่ได้รับราวัลชมเชยจาก นานมีบุ๊คอะวอร์ด ใช่เทคนิคเดียวกันโชคดีที่ เรื่องที่แต่งไว้พอไปวัดไปวาได้ไม่งั้นก็ไม่ได้ส่ง เพราะไม่มีเรื่องอื่นเลย ในส่วนของคณะกรรมการได้ให้ความเห็นว่า หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก ดูน่าจะง่ายๆเพราะภาพก็มีไม่มากเนื้อหาก็ไม่เยอะแต่ความง่ายของหนังสือ กลายเป็นของยากสำหรับการตัดสิน เพราะการทำหนังสือเด็กต้องมีสองส่วนมาประกอบกันแล้วลงตัว จึงจะเป็นหนังสือภาพที่ดีสำหรับเด็ก











             สำหรับคนเพิ่งเริ่มหัดทำนิทานเรื่อง"คุณช้างโต...ช่วยหน่อยได้ไหม" นี้ก็อยากจะบอกว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเราๆคนทำนิทาน แล้วยิ่งยากขึ้นไปอีกถ้าต้องแต่งเรื่องและวาดภาพด้วย โดยเฉพาะ"เรื่อง"ที่เป็นของขมสำหรับคนทำภาพประกอบอย่างเรา ฉะนั้นคณะกรรมการว่าตัดสินยาก เราคนสร้างสรรค์งานก็ถือว่าการทำหนังสือนิทานไม่ใช่ของสนุกเลยถ้าทำออกมาแล้วยังไม่ได้ดังใจแม้จะชอบจะอยากทำขนาดไหนก็เถอะ

             นิทานเรื่อง"คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม" คณะกรรมการยังได้ให้ความเห็นว่ามีกลิ่นจากนิทานอีสป เข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่อง "ราชสีห์กับหนู" จริงๆนิทานเรื่องนี้ตอนทำไม่ได้คิดถึงเรื่องอะไรเกี่ยวกับนิทานของอีสปเลย แต่กรรมการอาจจะรู้สึกถึงกลิ่นที่ไปคล้ายๆกันโดยความบังเอิญ ซึ่งก็เป็นไปได้























                แต่จริงๆแล้วแรงบันดาลที่มาของนิทานเรื่องนี้ มาจากประสบการณ์ส่วนตัว ที่รับรู้เรื่องที่เราเห็นกันอยู่แล้ว เรื่องลาภยศอำนาจ เวลามีแล้วก็ยึดติด หลงว่าเรายิ่งใหญ่ แต่ลืมมองคนระดับรองๆลงไป ทั้งที่จริงๆแล้วเราทุกๆคนก็เกิดร่วมโลก ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย เลยกลายเป็นที่มาของนิทานเรื่องนี้ โดยปรับเปลี่ยนเอา"เจ้าช้างโต"แทนคนที่มีอำนาจแล้วไม่สนใจจะมีเป็นเพื่อนเพราะคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่ไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่แล้วเจ้าช้างโตก็ต้องเปลี่ยนใจ หันกลับมามองสัตว์ตัวเล็กในอีกสายตาหนึ่งที่มันได้ค้นพบความจริง
               ทั้งหมดนี่เลยกลายเป็นที่มาที่ไปของนิทานเรื่อง ซึ่งไม่ได้มีที่มาจากนิทานอีสปเลย ฉะนั้นในฐานะคนทำนิทานต้องมองโลกที่สดใสจับเอาเรื่องราวมุมมองนี้มาแต่งเป็นนิทานซะเลย จะว่าไปแล้วนิทานเล่มนี้นอกจากเด็กอ่านได้แล้ว ยังมีนัยแฝงสอนใจผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้เอาไปพูดในงานวันรับรางวัล มีคนกระซิบว่าเครียดไปหรือเปล่าจริงจังเกินไปหรือเปล่า จริงๆไม่ต้องพูดถึงเรื่องนี้เลยก็ได้ แต่ที่พูดเพราะต้องขอค้านกับความเห็นของกรรมการเท่านั้นเอง


















               พอแล้วชักจะเครียดเกินไปอีกแล้ว เอาเป็นว่าฝากนิทานเรื่อง"คุณช้าง ช่วยหน่อยได้ไหม" ด้วยครับชอบใจก็ช่วยๆกันอุดหนุนหน่อยครับ ท้ายนี้ขอกราบขอบคุณคุณพ่อและแม่ ขอบคุณคำสอนดีๆของพ่อ ขอบคุณความขยันอดทนของแม่ ที่หล่อหลอมมาเป็นตัวเอง รางวัลนี้ขอประกาศความกตัญญูให้ท่านทั้งสองแม้ว่าวันนี้จะไม่มีทั้งสองท่านแล้วครับ ขอบคุณคณะกรรมการตัดสินและขอบคุณ"บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)" ขอบคุณที่หยิบยื่นและให้โอกาส....ที่มากกว่ารางวัลครับ









             ................................................................................................................



                                           ความเห็นจากแฟนหนังสือนิทานตัวน้อย






เล่มนี้ที่ฉันอ่าน : คุณช้างโต...ช่วยหน่อยได้ไห
นักอ่านเอาเรื่อง : ด.ช.พลวิชญ์ ชนกิจโกศล

ผมเห็นหนังสือเล่มนี้ที่ร้านนายอินทร์ครับ เพราะเหมือนคุณช้างโตกำลังจ้องมองผมอยู่ ผมเลยเปิดหนังสือดู แล้วเห็นสัตว์เยอะแยะเต็มหนังสือไปหมดเลย สัตว์แต่ละตัวใส่เสื้อสีสวยๆทั้งนั้นเลย ผมเลยบอกคุณแม่ให้ซื้อกลับบ้านด้วย คุณแม่บอกว่า เพราะผมเป็นเด็กชอบอ่านหนังสือก็เลยซื้อให้ครับ อีกสองสามวัน ผมก็ดีใจอีกและหัวเราะก๊ากๆ เพราะคุณป้าของผมก็เอาหนังสือเล่มนี้มาให้ผมด้วย แต่ตอนนั้นคุณป้าไม่รู้นะครับว่าคุณแม่ซื้อหนังสือให้ผมแล้ว ผมเลยมีหนังสือคุณช้างโต...ช่วยหน่อยได้ไหมตั้งสองเล่ม แต่ตอนนี้ผมเอาหนังสือที่คุณป้าให้ไปบริจาคห้องสมุดแล้วครับ เพราะเล่มที่คุณแม่ซื้อให้ ผมเขียนชื่อผมในหนังสือแล้ว คุณป้าก็ไม่ว่าอะไรครับที่ผมเอาหนังสือไปบริจาค
ตอนแรกผมเกลียดคุณช้างโตมากๆๆๆๆๆเลยครับ เพราะเป็นคน (ที่จริงผมต้องเรียกว่าสัตว์ใช่มั้ยครับ) ที่เห็นแก่ตัวมาก สัตว์แต่ละตัวขอร้องให้คุณช้างโตช่วยทำอะไร ก็ไม่ยอมช่วยเหลือเลย จนวันหนึ่งมันไม่สบายมากๆ ไปหาของกินไม่ได้ แต่สัตว์แต่ละตัวก็กลับมาช่วยคุณช้างโต

ตอนที่ผมอ่านหนังสือ ผมบอกว่าจะไปช่วยมันทำไม ช้างเห็นแก่ตัวอย่างงี้ แต่คุณแม่ของผมก็สอนผมว่า ถ้าสัตว์พวกนั้นไม่ช่วยคุณช้างโต ก็เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัวเหมือนคุณช้างโตน่ะสิ แล้วผมก็ต้องเกลียดสัตว์พวกนั้นด้วยเหมือนกัน ผมก็มาคิดว่า จริงอย่างที่คุณแม่บอกครับ
พอผมอ่านไปเรื่อยๆ ผมก็เข้าใจแล้วว่า สัตว์แต่ละตัวมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ และสามัคคีกันช่วยให้คุณช้างโตหายไม่สบาย แล้วยังมีของกินด้วย แล้วตอนจบ คุณช้างโตก็ช่วยเหลือสัตว์พวกนั้นทำโน่นทำนี่อย่างที่เคยขอ
หนังสือเล่มนี้บอกให้ผมรู้ว่า อย่าทำตัวเหมือนคุณช้างโตตอนแรก อยากเป็นช้างที่น่ารักของเพื่อนๆต้องช่วยเหลือกัน ดูแลกัน ตอนสุดท้ายผมเลยรักคุณช้างโตครับ เพราะเป็นช้างกลับใจ



                                          ...................................................................






------------------------------------------

อัปเดทใหม่ล่าสุด( 13 มี.ค. 2555) หนังสือนิทาน "คุณช้างโต....ช่วยหน่อยได้ไหม"  (ได้รับรางวัลชมเชย)  และหนังอื่นๆอีก 47 เรื่องได้รับรางวัล "หนังสือดีเด่นประจำปี 2555" ตามรายละเอียดข้างล่างนี้เลย

เปิดโฉม"47เรื่อง"หนังสือดีเด่นประจำปี 55

วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2555 เวลา 13:16 น.



สพฐ.ตัดสินรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี55 มี 47 เรื่อง เป็นรางวัลดีเด่น 12 เรื่อง และรางวัลชมเชย 35 เรื่อง
วันนี้ (13 มี.ค.) ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า  ตามที่สพฐ.มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) จัดประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555 ขณะนี้คณะกรรมการฯได้พิจารณาตัดสินเรียบร้อยแล้ว โดยมีหนังสือได้รับรางวัล 47 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 12 เรื่อง และรางวัลชมเชย 35 เรื่อง ดังนี้ 
   1.กลุ่มหนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่  ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย ผู้ประพันธ์ ธิดา สาระยา  รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ ในตลาดมีชีวี ในวิถีมีชีวิต ผู้ประพันธ์ ประชาคม นุลาชัย  พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย  ผู้ประพันธ์  ศักดิ์ชัย  สายสิงห์ และ ยังเฟื้อ  ผู้ประพันธ์  นรา 
 2.กลุ่มหนังสือนวนิยาย  รางวัลดีเด่น โถงสีเทา ผู้ประพันธ์ เข็มพลอย  รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่  ช่อมะลิลา ผู้ประพันธ์ แก้วเก้า  ผลิบานในวันร้อน ผู้ประพันธ์ ชมัยภร แสงกระจ่าง และ รอยเงา ผู้ประพันธ์ ปลายแปรง 
3.กลุ่มกวีนิพนธ์  รางวัลดีเด่น อ้อมอกแผ่นดิน ผู้ประพันธ์ สวรรค์ แสงบัลลังค์  รางวัลชมเชยมี 2 รางวัล จับใจใส่สัตว์  ผู้ประพันธ์ ทองใบ แท่นมณี  และสยามรัฐร่มฉัตรแก้ว ผู้ประพันธ์ วรวุฒิ ภักดีบุรุษ 
4.กลุ่มหนังสือรวมเรื่องสั้น  รางวัลดีเด่น ได้แก่  กระดูกของความลวง ผู้ประพันธ์  เรวัตร์  พันธุ์พิพัฒน์  รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่  การลุกไหม้ของไฟหินดำ ผู้ประพันธ์  ชัยกร  หาญไฟฟ้า  ความเงียบของลัยลา  ผู้ประพันธ์ จรรยา  อำนาจพันธุ์พงศ์  และนักเป่าแก้ว ผู้ประพันธ์  เดช อัคร 
5.กลุ่มหนังสือสำหรับเด็ก อายุ 3-5 ปี รางวัลดีเด่น หนูด่างหางแหว่ง ผู้ประพันธ์ ม.ล.ประกายพรึก  จักรพันธุ์  รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่  คุณช้างโต..ช่วยหน่อยได้ไหม ผู้ประพันธ์ วีระยุทธ เลิศสุดวิชัย  แจ๋วแหววอวดเก่ง ผู้ประพันธ์ มณิศา  ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา  และเหมียวสามขา ผู้ประพันธ์ สุรศักดิ์ พุ่มรัก
 6.กลุ่มหนังสือสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี หนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น เศษกระดาษ ผู้ประพันธ์ สองขา รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ ก-ฮ เที่ยวงานวัด ผู้ประพันธ์ พุงกลม ผ้าของพ่อ ผู้ประพันธ์ สองขา และเรื่องของใบข้าว ผู้ประพันธ์ เครือรัตน์ เรืองแก้ว หนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ชวนเพื่อนมาปั้น เครื่องดินเผา ผู้ประพันธ์ ปรีดา ปัญญาจันทร์  รางวัลชมเชย มี 1 รางวัล ได้แก่ กินดี มีแรงเยอะ ผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการ  
7.กลุ่มหนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี หนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น ความสุขผลิใบในทุกเช้า ผู้ประพันธ์ ปะการัง รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ คุณปู่แว่นตาแตก ผู้ประพันธ์ ชมัยภร แสงกระจ่าง ตามหาสรวงสวรรค์ ผู้ประพันธ์ ศรินธร ภัศดาวงศ์ และไทแลนเดอร์ กับพลังงานนิรันดร์  ผู้ประพันธ์ ทัน วิศวัส หนังสือสารคดี  รางวัลดีเด่น วัยใสหัวใจโขน ผู้ประพันธ์ ภูผา รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ ใครๆก็เคยยี่สิบ ผู้ประพันธ์ ณ วัฒน์ เรียนรู้ทุกข์ ได้สุขเป็นกำไร ผู้ประพันธ์ ว.วชิรเมธี และอ่านสนุก ปลุกสำนึก เล่ม 4 ผู้ประพันธ์ อัจฉรา ชีวพันธ์
8.กลุ่มหนังสือการ์ตูนและหรือนิยายภาพ หนังสือการ์ตูนและนิยายภาพทั่วไป  รางวัลดีเด่น การ์ตูนเทิดไท้องค์ราชันย์ รัชกาลที่ 9 เล่มที่ 1 พระคือพลังแห่งแผ่นดิน  ผู้ประพันธ์ สละ นาคบำรุง  รางวัลชมเชยมี 3 รางวัล ได้แก่ มอม (ฉบับการ์ตูน) ผู้ประพันธ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  ยอดมนุษย์ทุจริต ผู้ประพันธ์ บัวไร และ หมอเสม คนดี 4 แผ่นดิน ฉบับสมบูรณ์ ผู้ประพันธ์ สันติสุข โสภณสิริ หนังสือการ์ตูนและหรือนวนิยายภาพสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น ไม่มีหนังสือใดสมควรได้รับรางวัล  รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล ได้แก่ การ์ตูนติวเตอร์เก่งวิทย์ประถมปลาย เล่ม 1 ผู้ประพันธ์ น.อ.เสริมสกุล โทณะวณิก  และเณรแก้วกับน้อยไชยา 4 ตอน ปราบปีศาจทะเลตะวันออก ผู้ประพันธ์ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ 
9.กลุ่มหนังสือสวยงาม  หนังสือสวยงามทั่วไป รางวัลดีเด่น ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ความงามอันทรงคุณค่า ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ นิตย์รดี เรียบร้อยเจริญ  รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ กรุงเก่าเมื่อกาลก่อนภาพถ่าย 100 ปี พระนครศรีอยุธยา ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ อรรถดา คอมันตร์  ทุ่งกะมังแดนสวรรค์ของสัตว์ป่า ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ วรรณชนก สุวรรณกร และณรงค์ สุวรรณรงค์  และบางสิ่งบางอย่างในทุกๆวัน ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำประกอบภาพ ศศิ วีระเศรษฐกุล  หนังสือสวยงามสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น เพื่อนฉันอยู่ไหน ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ  นรินทร์  เชียวพิบูลย์กิจ รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล ได้แก่ ก-ฮ เที่ยวงานวัด ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ พุงกลม  นอนแล้วนะพระจันทร์ ผู้ประพันธ์ ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ สุภลักษณ์  พูนสินบูรณะกุล  และ ปู๊น ปู๊น กับรถคันใหม่ ผู้ประพันธ์ผู้จัดทำคำบรรยายประกอบภาพ ม.ล.ประกายพรึก จักรพันธุ์
ดร.ชินภัทร  กล่าวอีกว่า  ทั้งนี้ผู้ที่ชนะการประกวดดังกล่าวจะเข้ารับรางวัลในพิธีพระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555 ในวันเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ ๑๒

















             งานประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 12 ประจำปี 2554  วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554 ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ 1-2 บ.อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ภาพบรรยากาศงานและผู้รับรางวัลเมื่อคืนนี้(อัปเดทใหม่)

 
 
 
 





 






ประกาศผลประกวดต้นฉบับรอบคัดเลือก รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด


             ตามที่คณะทำงานโครงการประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ ๑๒ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้แจ้งความประกาศเปิดรับต้นฉบับประกวด จำนวน ๖ ประเภท ได้แก่ หนังสือภาพสำหรับเด็ก วรรณกรรมเยาวชน สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ และกำหนดปิดรับต้นฉบับในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมาก
             คณะทำงานโครงการประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดจึงมอบหมายให้คณะกรรมการรอบคัดเลือกในแต่ละประเภท ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องและคณะบรรณาธิการฝ่ายหนังสือเล่ม บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่กลั่นกรองและคัดสรรต้นฉบับที่ส่งเข้าประกวด
             ในที่สุด คณะกรรมการรอบคัดเลือกมีมติให้ต้นฉบับประกวดตามรายชื่อดังต่อไปนี้ (เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง) สมควรเข้ารอบคัดเลือก เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการรอบตัดสินได้พิจารณาในโอกาสต่อไป






 ประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็ก จำนวน ๙ ชื่อเรื่อง


๑. ก้อก ก้อก ก้อก
๒. ก้อนเมฆเหมือนตัวอะไรนะ
๓. คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม(คุณช้างโต หัวใจกระจิดริด)
๔. ชีวิต ฮ. นกฮูก
๕. ดินสอไม้ ปลายยางลบ
๖. น้ำเข้าไปในลูกมะพร้าวได้ยังไง
๗. นิทานก้อนเมฆ
๘. ให้ใจ
๙. Sweet Story เรื่องหวานๆของตาล ตาล กับคุณยาย




ประเภทวรรณกรรมเยาวชน จำนวน ๔ ชื่อเรื่อง


๑. น้ำท่วมเมฆกับเด็กน้อยลอยคอ
๒. ลาก่อนนางฟ้า
๓. ลูกแม่มูล
๔. เล่มนี้ที่ผมอ่าน




ประเภทสารคดี จำนวน ๕ ชื่อเรื่อง


๑. จูบฟ้า “ตาฮิติ”
๒. ในห้วงสมุทร
๓. โลดเต้นบนเส้นด้าย
๔. สายน้ำ ภูเขาเกลือ และตำนานกระรอกเผือกของคนลุ่มน้ำหนองหาน
๕. หอ. คอย. ฉัน




ประเภทนวนิยาย จำนวน ๓ ชื่อเรื่อง


๑. ฆาตกร
๒. แผ่นดินต้องห้าม
๓. ในรูปเงา(รูปเงาอันเงียบเหงา)




 



ประเภทเรื่องสั้น จำนวน ๑๕ ชื่อเรื่อง


๑. ค่าตัดตอน
๒. เจ้าหมู
๓. ตัณหา ๒๔ ชั่วโมง
๔. เต้นรำไปบนท่อนแขนอ่อนนุ่ม
๕. นางสาวสยาม
๖. บุตรชายผู้เหลวไหล
๗. บูเก๊ะอาบู
๘. ผิดผี
๙. ผู้ทรยศ
๑๐. ลมตะวันตกในฤดูปลอดมรสุม
๑๑. ศึกชิงยี่สกงาม ณ ลุ่มน้ำตะวันตก
๑๒. เสียงกระซิบของชัยฏอน
๑๓. ห้ามทิ้งขยะบริเวณนี้
๑๔. เหตุการณ์แม่บ้านกรีดร้อง
๑๕. อาณาจักรแห่งความฝัน






 ประเภทกวีนิพนธ์ จำนวน ๓๘ สำนวน


๑. ก่อนที่ไฟจะไหม้ฟ้า
๒. การกลับบ้านเกิด
๓. ความทรงจำ
๔. ความรักของแม่
๕. ความรักมาเยือน
๖. ความตายของสันติสุข
๗. จงหลอมดาบของเราเสีย
๘. จันทร์เอ๋ย
๙. เช้าแห่งการซุ่มซ่อน (ปืนกระบอกหนึ่งในพุ่มไม้ริมรั้ว)
๑๐. ณ ขณะเวลาหนึ่ง
๑๑. ณ ดินแดนที่สันติสุขถูกตรึงด้วยตะปู
๑๒. โดราเอมอน เจ้าแมวจมน้ำ
๑๓. ตกกระทบแห่งกระจกบานนั้น
๑๔. ไถ่บาป (ความสะอาดของเรา)
๑๕. นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป
๑๖. ในสวนหย่อม
๑๗. ในเส้นพรมแดน (พลเมืองผู้ไม่เคยกลับจากสมรภูมิ)
๑๘. บันนังสตา
๑๙. บางมุมจากร้านอาหารพื้นเมือง
๒๐. ประเทศ-ราษฎร์ : กรณีศึกษาจากเกาสิงเจี้ยน
๒๑. เปลวเพลิงในสวนจินตนาการ
๒๒. ปีกนกเสรี
๒๓. พาหุงมหานคร
๒๔. เมื่อยุคสมัยขยิบตา
๒๕. ยุงหลงดูดเลือดรูปเหมือนมีชีวิต
๒๖. ระหว่างทางไปโรงเรียน
๒๗. เราต่างแบ่งพรมแดนในบ้านของเราเอง
๒๘. เรื่องเล่าของชาวโลกใหม่
๒๙. โรงเรียนชายแดนของแผ่นดิน
๓๐. ลูกคือบทกวีของแม่
๓๑. วิถีปีก
๓๒. สนามหลวง
๓๓. สมรภูมิ
๓๔. สนามรบ
๓๕. สิ่งมีชีวิตอื่น
๓๖. หลงละเมออยู่ในกาลเวลา
๓๗. อธิปไตยเหนือที่นาผืนเล็ก
๓๘. อวตาร







































               ในนามคณะทำงานโครงการประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดขอแสดงความยินดีต่อเจ้าของผลงานต้นฉบับประกวดทุกท่าน ที่สร้างสรรค์ผลงานเขียนดังตามชื่อเรื่องข้างต้น ขณะเดียวกันขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานต้นฉบับประกวดทุกท่านในทุกประเภทงานที่ให้ความสนใจ ด้วยการส่งต้นฉบับเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วย
             สำหรับผลการพิจารณาต้นฉบับประกวดในรอบตัดสิน ทางคณะทำงานโครงการจะแจ้งผลการประกวดผ่านช่องทาง www.amarinpocketbook.com และ www.naiin.com หลังจากจัดงานแถลงข่าวและประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ ๑๒ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ เสร็จสิ้นลง ซึ่งกำหนดงานแถลงข่าวและประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดนั้น จะประกาศให้รับทราบในโอกาสต่อไป (อัปเดทใหม่ผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ 12 ข่างล่างนี้ครับ  ขอบคุณรูปเจ้าของรางวัลจาก คอมชัดลึก)








              ประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ดประเภทแรกคือ ประเภทนิทานภาพสำหรับเด็ก ซึ่งผู้ชนะเลิศในปีนี้ คือ นายวีระยุทธ เลิศสุดวิชัย เจ้าของผลงาน 'คุณช้างโต ช่วยหน่อยได้ไหม' (คุณช้างโต หัวใจกระจิดริด)






             ประเภทบทกวี ได้แก่ 'อังคาร จันทาทิพย์' กวีหนุ่มเจ้าของผลงาน 'ความตายของสันติสุข' ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยมีรองชนะเลิศ 2 รางวัล ประกอบด้วย ผลงานของ 'ชัชชล อัจนากิตติ' เจ้าของผลงาน 'ความทรงจำ' และ 'ธีระสันต์ พันธศิลป์' เจ้าของผลงาน 'ณ ขณะเวลาหนึ่ง'








         ประกาศผลรางวัลเรื่องสั้น ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ 'วรณัฐ ตั้งขบวนบุตร' จากผลงานที่ชื่อว่า 'เหตุการณ์แม่บ้านกรีดร้อง' โดยมีรางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ประกอบด้วย ‘นทธี ศศิวิมล’ กับผลงาน ‘เต้นรำไปบนท่อนแขนอ่อนนุ่ม’ และ ‘ปราชญ์ วิปลาส’ กับผลงานชื่อ ‘เสียงกระซิบของชัยฏอน’






         ประเภทนวนิยาย ปรากฏว่า ผลงานของ 'เงาจันทร์' จากผลงานเรื่อง 'ในรูปเงา' (รูปเงาอันเงียบเหงา) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ขณะที่ประเภทสารคดี และวรรณกรรมเยาวชน ในปีนี้ ไม่มีผลงานใด ที่สมควรได้รับรางวัลชนะเลิศ







































































วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นิทรรศการผลงาน ชีวิต 70 ปี ของ อ.บัณฑิต ผดุงวิเชียร

            








             

                 ข่าวประชาสัมพันธ์จากคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ขอเรียนเชิญร่วมวันเปิดงาน สังสรรค์และชมงานนิทรรศการผลงาน ชีวิต 70 ปี ของ อ.บัณฑิต ผดุงวิเชียร
                 อ.บัณฑิต เรียนเพาะช่างรุ่นเดียวกับ คุณราช เลอสรวง คุณณรงค์ ประภาสะโนบล(พี่รงค์ ชัยพฤกษ์การ์ตูน) ฯ และเป็นลูกศิษย์อ.ศิลป์ พีระศรี ที่จิตรกรรม ม.ศิลปากร สอนที่คณะมัณฑนศิลป์ มากว่า 40 ปี งานวันเปิดนิทรรศการ ถือเป็นโอกาสฉลองวันเกิดครบ 70ปี (แซยิด) และพบปะเพื่อนศิลปินและลูกศิษย์








           


              นิทรรศการนี้จัดแสดง ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร  วังท่าพระ วันที่ 15- 30 มิถุนายน 2554 เวลา 10.00 น.- 18.00 น. เปิดงานวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554 เวลา 17.00 น.