Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชวนเด็กวาดรูป งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน

        กิจกรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553 เวลา 14.00-14.30 น. และ 16.00-16.30 น. ณ ลานกิจกรรม book start โซนพลาซ่า มีนัดกับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม อายุไม่เกิน 5 ปี (ตามที่สังเกต เด็กจะอยู่ช่วง 4-6 ปี แต่ละรอบ จะมีเด็กนั่งฟังประมาณ 10-20 คน) เอาเข้าจริงๆใกล้เวลางาน เหลือเด็กน้อยมาก
        “ กิจกรรม เด็กฉลาด ชาติเจริญ ” ในงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ ๘ จัดลานเด็กฉลาด Book start ยึดแนวคิดของงานปีนี้เป็นรูปแบบของวรรณคดีไทย ผสมผสานตัวละครจากในวรรณคดี เช่น หนุมาน สังข์ทอง ทั้งสิ่งแวดล้อมในเรื่องพวก ต้นไม้ หอยสังข์ นำไปผูกกับพฤติกรรมที่ดีๆ เพื่อปลูกฝังให้แก่เด็กๆ เช่น การที่ พระสังข์ ช่วยแม่ทำงานบ้าน หรือการดัดแปลงให้เหล่าตัวละครเอกของไทยมีพฤติกรรมที่เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน เช่น สอนให้กินอาหารมีประโยชน์จะได้แข็งแรง เช่นเดียวกับตัวละคร โดยนำเสนอผ่านการร้องเพลง การวาดภาพ
        เพราะวาดภาพประกอบรามเกียรติ์ ตอน "ไมยราพสะกดทัพ" เลยทำกิจกรรม "สนุกกับนักวาด" กับเด็กๆ เอาตัวละครเอก หนุมาน กับ ไมยราพ มาเป็นแบบ ให้เด็กๆวาดแบบง่ายๆ เส้นน้อยๆ ตามเวลาที่น้อยด้วย แต่เอาภาพลายเส้นไทยๆแบบจิตรกรรมไทย ที่วาดไว้มาให้เด็กดูว่า ที่มาของเดิมเป็นยังไง ถึงมาเป็นงานภาพประกอบนิทานได้ โดยลดลายละเอียดของเส้นลง จริงๆไม่เน้นอะไรมาก แค่ให้เด็กวาดตามอิสระ สนุกกับลายเส้นก็ ok แล้วครับ จริงๆเด็กๆส่วนใหญ่ก็วาดเก่งกันอยู่แล้ว ถ้าเราไม่ติดว่าเขาต้องวาดให้เหมือนให้สวย ทุกคนวาดเป็นทั้งนั้นเลยเลยครับ







ศิลปะเด็กเขาตัดสินกันอย่างไร “ทำไมลูกผมจึงไม่ได้รางวัล?”

      ก่อนอื่นต้องขออนุญาติ ครูปุ้ย  โรงเรียนศิลปะเด็กไทยสร้างสรรค์ ขอยืมบทความศิลปะดีๆ มาเผยแพร่ บทความของ อ.อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย (วารสารศูนย์บริการวิชาการ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม 2548 หน้า 7-10.) เกี่ยวกับศิลปะเด็ก น่าสนใจและมีประโยชน์ดี ต่อเนื่องกับบทความ "ศิลปะเด็ก ดอกไม้ในกำมือของผู้ใหญ่" ได้ดีเลย

ศิลปะเด็กเขาตัดสินกันอย่างไร “ทำไมลูกผมจึงไม่ได้รางวัล?”


     การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทางด้านศิลปะเด็กที่นิยมกันมากก็เห็นจะไม่พ้นเรื่องการจัดประกวดวาดภาพ ซึ่งมีรูปแบบอยู่ 2 ประการคือ

    ประการแรก ให้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
    ประการที่สองให้มาวาดประกวดกันสดๆ เดี๋ยวนั้นเลย ซึ่งมันมีช่องว่างค่อนข้างเยอะที่จะได้งานที่บริสุทธิ์จริงๆ ในกรณีแรกนั้นไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นผลงานที่เด็กทำเอง หรือมีครู ผู้ปกครองมาคอยชี้แนะให้วาดอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้ ส่วนประการที่สองดีขึ้นมานิดหนึ่งตรงที่ เราได้เห็นกระบวนการทำงานของเด็ก ที่สำคัญคือต้องไม่แจ้งหัวข้อให้เด็กทราบล่วงหน้าเพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่ต่างอะไรกับกรณีแรกที่ครูหรือผู้ปกครองมีส่วนมาช่วยแต่งเติมความคิดของเด็ก เท่ากับว่างานชิ้นนั้นเสียความบริสุทธิ์ไป คุณค่าของงานก็หายไปด้วย






        ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการจัดประกวดวาดภาพของเด็กก็คือ มักมีการแสดงความไม่พอใจเกิดขึ้นจากครูอาจารย์หรือผู้ปกครองของเด็ก เนื่องจากไม่เข้าใจในการตัดสินของกรรมการ ผู้ปกครองท่านหนึ่งถึงกับบ่นออกมาว่า ”ทำไมลูกเขาถึงไม่ได้รางวัลประกวดวาดภาพครั้งนี้ ทั้งๆ ที่วาดภาพและระบายสีได้สวยเป็นระเบียบไม่ออกนอกกรอบเลยสักนิด” และคงไม่ใช่มีผู้ปกครองเพียงท่านเดียวที่เคยบ่นหรือรู้สึกเช่นนี้ จากประสบการณ์ที่ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการในการตัดสินการประกวดวาดภาพมาหลายปี เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะมีความเข้าใจในการประเมินผลงานศิลปะเด็กของผู้ปกครองกับกรรมการตัดสินยังไม่ตรงกัน ไม่ใช่แค่ผู้ปกครองเท่านั้น ครูอาจารย์ที่สอนศิลปะเองก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมลูกศิษย์ของตนจึงไม่ได้รับรางวัลหรือไม่ได้รางวัลที่คาดหวังไว้ บางครั้งก็แสดงอารมณ์ความไม่พอใจออกมา




           ประการที่สำคัญที่สุดก็คงด้วยใจที่ลำเอียงไปทางลูกหลานหรือลูกศิษย์ของตนเองมาเป็นอันดับแรก หรือในบางครั้งกรรมการตัดสินก็เห็นไม่ตรงกัน ด้วยใจที่มองว่าตนเองชอบภาพนั้นด้วยเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนไป หรือบางท่านเป็นศิลปินวาดภาพที่มีฝีมือฉกาจแต่อาจขาดความเข้าใจในศิลปะเด็ก ซึ่งต้องใช้เกณฑ์คนละอย่างมาวัดต่างจากศิลปะของผู้ใหญ่ที่เน้นในเรื่องของฝีมือมากกว่า
           ศิลปะจึงเป็นเรื่องยากที่จะมาตัดสินเหมือนคณิตศาสตร์ที่มีคำตอบตายตัวว่า 1+1= 2 ศิลปะไม่มีถูกผิดแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการประเมินหรือตัดสิน น้อยคนนักที่จะได้ทราบว่าเขาใช้หลักเกณฑ์ใดมาวัดหรือตัดสินกัน โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่เห็นด้วยนักกับการจัดประกวดวาดภาพ เพราะจุดประสงค์สำคัญของการทำงานศิลปะนั้นก็เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการที่ดีทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมถึงมีความสุข มีจินตนาการ และมีความมั่นใจในการแสดงออก แต่กลายเป็นว่าเด็กมุ่งหวังและให้ความสำคัญกับรางวัลมากกว่าสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ครูก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งคอยบีบคั้นเด็กในการทำงานศิลปะ เพราะถ้าเด็กได้รับรางวัลก็จะกลายเป็นผลงานของครูไปด้วย จึงมีความมุ่งหวังค่อนข้างมาก ทำให้เด็กบางคนเก็บอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ไม่ไหว ถึงกับร้องไห้ออกมาเพราะเสียใจที่ตนเองไม่ได้รางวัลที่หนึ่งทั้งๆ ที่เคยประกวดได้รางวัลที่หนึ่งมาตลอด หรืออาจจะร้องเพราะกลัวครูจะไม่พอใจก็เป็นได้







           ศิลปะเป็นสิ่งง่ายที่เด็กจะได้สัมผัสและเรียนรู้ แต่กลับกลายเป็นการทำงานศิลปะด้วยความเครียดไป จะเห็นได้ว่าการพัฒนาด้านศิลปะเด็กในประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่เพียงแค่การประกวดวาดภาพเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะที่แท้จริง ซึ่งในต่างประเทศจะให้การส่งเสริมทางด้านศิลปะเด็กค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ หรือเวลาในการสอน ประเทศไทยกลับมองว่ามีหรือไม่มีก็ได้ บางโรงเรียนไม่มีครูศิลปะและไม่มีวิชาศิลปศึกษาก็มี ทั้งนี้เพราะความเข้าใจที่มุ่งไปว่าคนเรียนเก่งมักต้องเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ในเมื่อมุ่งเน้นและให้ความสนใจไปคนละทิศทางแล้ว มันก็ยากที่คนเรียนศิลปศึกษาที่เป็นคนกลุ่มเล็กๆ จะช่วยกันส่งเสริมและเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เข้าใจถึงความสำคัญของศิลปศึกษา ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ศาสตร์ อาจจะถูกกลืนหายไปในไม่ช้า




        ได้มีนักวิชาการที่กล่าวถึงเกณฑ์ในการตัดสินผลงานศิลปะเด็กอยู่บ้าง ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกรรมการตัดสิน ครูหรือผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งตัวเด็กเอง เพื่อจะได้คลายข้อข้องใจต่างๆ และเข้าใจได้ตรงกัน จริงๆ อาจจะมีการตั้งเกณฑ์ขึ้นมาตามความเห็นชอบของคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งอาจไม่ใช่หลักเกณฑ์เดียวกับที่จะนำเสนอให้ทราบ ทั้งนี้ก็แล้วแต่สถานการณ์และการปรับใช้ ไม่มีกฎระเบียบตายตัว ดังนั้นจึงอยากเสนอแนะให้ทราบเป็นกรอบความคิดไว้กว้างๆ เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินการประกวดวาดภาพไว้ ดังนี้






         1. ด้านเนื้อหาเรื่องราวของภาพ กรรมการค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับด้านเนื้อหาค่อนข้างสูง และพิจารณาเป็นอันดับแรกว่าตรงตามหัวข้อที่กำหนดไว้หรือไม่ หากผลงานชิ้นใดสามารถสื่อออกมาได้ชัดเจนและมีเนื้อหาตรงตามที่กำหนดไว้ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน

         2. ด้านองค์ประกอบของภาพ ได้แก่

         2.1 การร่างภาพ ได้แก่ ความสามารถในการร่างภาพ และร่างรายละเอียดหรือส่วนประกอบต่างๆ    ของภาพ รวมไปถึงความมั่นใจในการแสดงออกในการใช้เส้น
         2.2 การจัดภาพ ได้แก่ ความสมดุลของภาพ (ซ้าย-ขวา/บน-ล่าง) ความมีเอกภาพของภาพ (ควบคุมได้ไม่กระจัดกระจาย) และการเน้นจุดสนใจในภาพ
         2.3 ทักษะการใช้วัสดุ ได้แก่ ความสามารถในการระบายสี การเลือกใช้คู่สีได้สวยงาม ความหลากหลายของสีในภาพ (เหมาะสม) การแทนค่าสีอ่อน-แก่ เรื่องการระบายสีค่อนข้างเป็นสิ่งสำคัญเพราะผลงานจะออกมาเห็นได้เด่นชัด อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าผู้ปกครองบางท่านสงสัยว่าทำไมลูกของตนระบายสีได้อย่างเรียบร้อยจึงไม่ได้รับรางวัลในการประกวด เด็กบางคนระบายสีดูเหมือนเลอะเทอะ กรรมการกลับคัดเลือกให้ได้รางวัล ทั้งนี้เนื่องจากกรรมการมองว่าเด็กได้แสดงออกอย่างบริสุทธิ์ไร้เดียงสา มีการ ระบายสีแบบแสดงร่องรอยฝีแปรง มีความมั่นใจในการแสดงออก ไม่ได้ถูกผู้ใหญ่บังคับหรือชี้นำให้ทำตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าครูจะต้องไปสอนให้เด็กระบายสีแบบเลอะเทอะเพื่อให้ได้รางวัล เพราะกรรมการต้องพิจารณาจากวัยของเด็กแล้วว่าสามารถระบายสีแบบเรียบร้อยได้หรือยัง
         2.4 ความงามทางศิลปะ ได้แก่ ความกลมกลืนของเส้น สี พื้นผิว รูปร่าง

         3. ด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ด้านเนื้อหา ด้านการใช้สี ด้านการจัดภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นผลงานที่มีความโดเด่นแตกต่างจากคนอื่นๆ ที่เคยมีมา




         4. ด้านการเปรียบเทียบผลงานกับพัฒนาการการวาดภาพของเด็ก โดยพิจารณาว่าผลงานเป็นไปตามพัฒนาการการวาดภาพของเด็กหรือไม่

         5. มีความมั่นใจในการแสดงออก โดยดูจากการร่างภาพ การระบายสี เป็นต้น

         6. ความบริสุทธิ์ของงานที่ปราศจากความคิดของผู้ใหญ่ชี้นำ ข้อนี้สำคัญมากเพราะเด็กที่ประกวดวาดภาพส่วนใหญ่มักได้รับการฝึกฝนจากผู้ปกครองครูอาจารย์มาค่อนข้างดี ซึ่งอาจไม่ยุติธรรมกับเด็กที่คิดและสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาเอง ดังนั้นกรรมการจึงควรจะมีความละเอียดในการพิจารณาเพื่อคัดเลือกผลงานที่ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาให้ได้มากที่สุด



           เราอาจพิจารณาตามพัฒนาการ ในการวาดภาพของเด็กประกอบด้วย ซึ่งโลเวนเฟนด์
( Victor Lowenfeld) ได้กล่าวถึงพัฒนาการการวาดภาพของเด็กในระดับ อนุบาลไว้ดังนี้

           · ขั้นขีดเขี่ย (อายุ 2-4 ขวบ) คือเริ่มการขีดเขี่ยที่ปราศจากการควบคุม ต่อจากนั้นจะสามารถควบคุมมือให้เคลื่อนไหวซ้ำๆ กัน เป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา หลังจากนั้นก็จะเริ่มกำหนดชื่อรูปทรงต่างๆ ที่สร้างขึ้น เปลี่ยนแปลงจากความพึงพอใจในการเคลื่อนไหว มาสู่การคิด จินตนาการ โดยเด็กจะเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพเขียนและโลกภายนอก และตระหนักว่าวัตถุที่มองเห็นสามารถนำมาสร้างเป็นภาพได้

           · ขั้นเริ่มสัญลักษณ์ (อายุ 4-7 ขวบ) เด็กจะถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ สัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพขึ้นอยู่กับการรับรู้ของเด็กเอง เด็กเขียนภาพตามที่เขารู้ ไม่ใช่ตามที่เขามองเห็นเท่านั้น รูปทรงที่โปร่งใสหรือมีลักษณะเหมือนภาพเอ็กซ์เรย์ ชี้ให้เห็นว่า เด็กรับรู้อย่างไร ไม่ใช่เพียงการมองเห็นได้มุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น ภาพเขียนจะแสดงถึงความสนใจต่อความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดบริเวณว่างบนพื้นภาพ เด็กเริ่มจะสนใจเส้นกับรูปร่างเรขาคณิตมากขึ้น
           ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะต้องมีพัฒนาการทางการวาดภาพเท่าๆ กัน เด็กบางคนอาจจะต่ำกว่า หรือบางคนอาจจะมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการส่งเสริมจากผู้ใหญ่อีกด้วย







           ความจริงได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการจัดประกวดวาดภาพนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็กๆ ที่น่าจะเป็นการปล่อยให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระเสรี ไม่มีถูกผิด ไม่มีการเปรียบเทียบผลงานกันว่าใครดีกว่าหรือด้อยกว่าอย่างไร เพราะจะเป็นการทำลายความคิดและจินตนาการของเด็กไปโดยไม่รู้ตัว
            อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ผู้ใหญ่ทุกคนได้ทำความเข้าใจเมื่อเด็กวาดภาพด้วยว่า ควรจะให้การส่งเสริมและให้กำลังใจเด็ก ดีกว่าการติ และบังคับให้เด็กทำตามอย่างที่ใจผู้ใหญ่ต้องการ เพราะนั่นเท่ากับว่าเป็นการบั่นทอนความคิดและจินตนาการของเด็กไป ซึ่งจะเป็นผลกระทบตามมาเมื่อเขาโตขึ้น

เอกสารอ้างอิง
ชัยณรงค์ เจริญพานิชย์กุล. (2533) พัฒนาเด็กด้วยศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลน พัลลิชชิ่ง จำกัด.
Lowenfeld,Victor,and W.Lambert Brittian. Creative and Mental Growth. The Macmillan Company,London,1970.

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ย้อนหลัง การ์ตูนหน้าพระลาน(งานแสดงการ์ตูนและภาพประกอบ) ครั้งที่ 5

      




    

      








            ได้เวลา 5 โมงเย็น นัดเปิดงานที่คณะมัณฑณศิลป์ ม.ศิลปากร โชคดีที่รถติดแต่ยังทันเวลาเปิด เพราะหอศิลป์ติดขัดทางเทคนิคบางประการ ท่ามกลางนักวาดการ์ตูน นักวาดภาพประกอบ ทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเล็ก ต้องขอโทษที รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง (หน้าตามากกว่าที่ไม่รู้จัก) แต่ผลงานเคยเห็นผ่านตามา เรียกว่ารู้จักผลงานมากกว่าตัวจริง





 2  ภาพประวัติศาสตร์สำหรับผม พี่รงค์ ณรงค์ ประภาสะโนบล แห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน(ซ้ายมือ)

         อย่างพี่รงค์ (ณรงค์ ประภาสะโนบล) จากชัยพฤษ์การ์ตูน ที่เคยอ่านมาตั้งแต่ยังเล็กๆ เคยเห็นหน้าในบทสัมภาษณ์ นานมาแล้ว เพิ่งมีโอกาสพบตัวจริงวันนี้เอง




รูปพี่รงค์ (ณรงค์ ประภาสะโนบล) จากชัยพฤษ์การ์ตูนสมัยหนุ่มๆ
ไปค้นจาก ชัยพฤษ์การ์ตูน เล่มเก่าๆ (10 ธ.ค.2553 )


 


            (  เด็ก ๆ ที่เติบโตขึ้นมาในยุค '70s น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หนูแหวน, เจ้าแพะ, เจ้าเปีย, ลุงกำนัน, ท่านขุน, ทาร์ซาน และเจ้าจุ่น ตัวละครที่เป็นตัวแทนของเด็กช่างคิดและผู้คนในยุคแสวงหาเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" เป็นหนังสือการ์ตูนที่มีบุคลิกเฉพาะตัว และอยู่ในความทรงจำของผู้คนเสมอมา

     "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" ของ สนพ.ไทยวัฒนาพานิช เริ่มวางแผงแนะนำตัวให้บรรดานักอ่านตัวน้อย ๆ ได้รู้จักในเดือนกันยายน 2513 โดยคณะผู้จัดทำก็ยกมาจากกองบรรณาธิการของวารสาร "ชัยพฤกษ์" ที่มี อ.เปลื้อง ณ นคร เป็นบรรณาธิการอยู่นั่นเอง ด้วยความมุ่งมั่นของ อ.เปลื้อง ที่หวังจะได้เห็นเยาวชนไทยเติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศ ผนวกกับงานศิลป์ชั้นเยี่ยมของ ณรงค์ ประภาสะโนบล, ธำรงค์ ศิริชู, ปนัท เลิศสมบูรณ์ ส่งผลให้ "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" ก้าวขึ้นมาเป็นการ์ตูนชั้นแนวหน้าในทันทีที่วางแผง นอกจากการ์ตูนฝีมือ "พี่รงค์" และ "พี่นัท" แล้ว การ์ตูนเรื่องยาวฝีมือ "โกสินท์ ชิตามร" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทึ่ดึงดูดให้บรรดาน้อง ๆ หนู ๆ ในยุคนั้น ต้องตามอ่าน "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" กันชนิดติดหนึบ
       หลังยุค อ.เปลื้อง ณ นคร และ อ.อนุช อาภาภิรม "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" ก็มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้จัดทำเป็นระยะ ๆ แต่แกนหลักด้านงานศิลป์ยังคงเป็น ณรงค์ ประภาสะโนบล และยังคงยืนหยัดบนแผงหนังสือต่อมาได้อีกเป็นเวลาเนิ่นนาน ก่อนจะอ่อนแรงและอำลาแผงหนังสือไปในปลายยุค '90s ...
... เหลือทิ้งไว้เพียงภาพแห่งจินตนาการของ หนูแหวน, เจ้าแพะ, เจ้าเปีย, ลุงกำนัน, ท่านขุน, ทาร์ซาน และเจ้าจุ่น ที่ยังคงวิ่งวุ่นอย่างครื้นเครงอยู่ในความทรงจำของผู้คนหลายยุคหลายสมัยตลอดมา ... และตลอดไป)

***ข้อมูลและ รูปประกอบมาจาก  http://www.bangkokbookclub.com ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย


            นอกจากนี้ ยังมีพี่ เซีย ไทยรัฐ เจอกันบ่อยเฉพาะงาน แบบนี้ พี่สละ นาคบำรุง พี่สมบัติ คิ้วฮก นี่ก็รู้จักชื่อมานาน แถมบ้านก็อยู่ใกล้ๆกันแต่ไม่เคยเห็นตัวจริง มีพี่จิว ดินหิน เคยรู้จักชื่อ แต่ไม่ค่อยเคยหรือไม่เคยเห็นผลงานเลย นอกจากนั้น ก็ค่ายสถาบันการ์ตูนไทย รุ่นใหม่มาแรง หลายคน



                        พี่เซีย ไทยรัฐ ข้างหลัง นักวาดการ์ตูนจากสถาบันการ์ตูนไทย



         เสื้อชมพู่ซ้ายมือ คู่ขวัญ พี่รงค์ พี่บุษบงค์ โควินทน์ จากชัยพฤกษ์การ์ตูนเช่นกัน


                      3 สาว พี่เจ,พี่หงษ์,พี่ฝน จากสถาบันการ์ตูนไทย และมูลนิธิเด็ก






          งาน การ์ตูนหน้าพระลานครั้งที่ ๕ “ พลังเยาวชน หัวใจไทย ” หน่วยงานภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสถาบันการ์ตูนไทยจัดขึ้น ส่วนหัวข้อก็มาจากปัญหาสังคมในปัจจุบัน ที่มีความขัดแย้งแตกแยกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ขาดความรักสามัคคี ก่อให้เกิดปัญหามากมายที่มีผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของคนไทย หัวข้อนี้เลยถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อนำพลังของเยาวชนนักเรียนและนักศึกษา ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ รักษาความดีงามของสังคมไทยให้คงอยู่ และร่วมกันก้าวต่อไปอย่างเข้มแข็งมั่นคง ด้วยพลังแห่งหัวใจไทย โดยจะนาเสนอกิจกรรมผ่านสื่อศิลปะในรูปแบบของการ์ตูนทั้งประเภทคอมมิค การ์ตูนอนิเมชั่น รวมถึงภาพประกอบสาหรับเด็กและเยาวชน ที่มีเนื้อหากระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแนวคิดจิตใจ ส่งเสริมคุณธรรมในการดาเนินชีวิตด้วยวิถีพุทธ ทั้งการมองโลกในแง่ดี มีน้ำใจ ช่วยเหลือซี่งกันและกัน ความรักสามัคคีและการให้อภัย รวมทั้งส่งเสริมความภาคภูมิใจในความเป็นไทยแก่เยาวชน
         งานนิทรรศการ ครั้งที่ 5 นี้ ประกอบด้วย นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะและกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในด้านบวก ผ่อนคลายความเครียด และมีโอกาสเป็นส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ฟื้นฟูและสร้างสรรค์สังคมด้วยสื่อศิลปะ
         โครงการการ์ตูนหน้าพระลาน เคยจัดงานมาแล้วทั้งหมด4ครั้ง
         -ครั้งที่1ในปีพ.ศ 2541
         -ครั้งที่2 ในปี พ.ศ 2543
         -ครั้งที่3 ในปีพ.ศ 2548(สนับสนุนโดย สสส.)
         และครั้งที่4 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ 2550(สนับสนุนโดย สสย.) ผลงานที่จัดแสดงได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน ช่วยแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและแนวทางประกอบอาชีพ รวมทั้งสร้างความสุขให้แก่ผู้ใหญ่และประชาชนทั่วไปที่เข้าชมด้วย
         นอกจากนิทรรศการงานแสดงแล้วยังมีกิจกรรอื่นตามวันเวลาที่ทาง หอศิลป์แจ้งมาเช่น
         - กิจกรรมอบรมและปฎิบัติการ “รวมพล รวมหัวใจ สร้างฮีโร่” วันอาทิตย์์ที่ 11 กรกฎาคม 2553
ห้องประชุมศร.3104 เวลา 9.00-16.00 .
         -อบรมการออกแบบคาแรคเตอร์ สุดยอดมนุษย์พันธุ์ไทย ที่จะมาช่วยปกป้อง ฟื้นฟูและสร้างสรรค์สังคมไทยให้สงบสุขมั่นคง แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักศึกษา และครูผู้สอนศิลปะ
พร้อมมอบรางวัล สุดยอดมนุษย์หัวใจไทย แก่นักเรียนที่มีผลงานออกแบบโดดเด่น
         - นิทรรศการการ์ตูนหน้าพระลาน“พลังเยาวชน หัวใจไทย”วันที่ 30 กรกฎาคม 13 2553
เวลา 10.00-18.00 . เว้นวันอาทิตย์ จัดแสดงผลงานการ์ตูนคอมมิค การ์ตูนแก๊ก การ์ตูนทำมือ
คาแรคเตอร์ แอนิเมชั่น และภาพประกอบสาหรับเด็กและเยาวชนของไทย
         - กิจกรรมอบรมและปฎิบัติการ “สวมเสื้อตัวใหญ่ สวมหัวใจไทย” วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2553
 เวลา 9.00-16.00 .
         

                  รศ.เอกขาติ จันอุไรรัตน์ คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ กล่าวต้อนรับ ท่านปลัดฯ


                       ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์  กล่าวเปิดงาน







                          น.ศ. แต่งตัวเลียนแบบมาสคอท มาเชิญแขกในงาน

        ห้าโมงกว่า ได้เวลาพิธีเปิดเริ่มขึ้น รศ.เอกขาติ จันอุไรรัตน์ คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กล่าวต้อนรับ ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม







                                          ขอพี่ รงค์ ชัยพฤกษ์การ์ตูนวาดบ้าง


                                              หัวใจที่วาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว


          จากนั้นทั้งนักวาดการ์ตูน นักวาดภาพประกอบรุ่นใหญ่รุ่นเล็ก พี่รงค์ พี่เซีย พี่สมบัติ คิ้วฮก พี่สละ นาคบำรุง วีระยุทธ เลิศสุดวิชัย และท่านอื่น ทั้งท่านปลัดร่วมเขียนการ์ตูนมอบหัวใจบนเสื้อยืดเป็นที่ระลึก หัวใจ200ดวง บนเสื้อยืดตัวใหญ่ตัวเดียว เพื่อใช้สวมหัวใจคนไทยไว้ด้วยกัน เสื้อยืดขนาดยักษ์ตัดเย็บขึ้นมาเป็นพิเศษ1ตัว (เสื้อตัวใหญ่มากกก!) หัวใจของใครของมันรวมกันเป็นหัวใจใหญ่ตามแนวคิดของงานครั้งนี้



         


รวมนักวาดการ์ตูนและภาพประกอบ
         



                                       มาสคอท 4 ตัว ในงาน เก่ง แก้ว แก่น กล้า


                อายุ                                    วรรณโณ             


สุขัง                                     พลัง

เหล่ามาสคอทตัวแทนเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจไทย
            ( “เก่ง” พี่ช้างฉลาดรอบรู้ หนักแน่นด้วยเหตุผล แต่อ่อนโยนและรักษ์วัฒนธรรมไทย
            “แก้ว” แมวสาวพันธุ์ขาวมณี สวยหวานสดใส กล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างมีกาละเทศะ เป็นกุลสตรีไทยยุคใหม่
            “แก่น” ลูกลิงน้อย เริงร่า ซาบซ่าซุกซน อยากรู้อยากเห็น ดื้อบ้าง เกเรบ้าง บางเวลา
            “กล้า” เสือหนุ่มเปี่ยมพลัง แช็งแกร่ง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ พร้อมต่อสู้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ผดุงความยุติธรรม)


         จากนั้นก็ ฉายวีดีทัศน์บรรเลงเพลงธีม นาเสนอ 4 มาสคอท ตัวแทนพลังเยาวชน ช้าง(เก่ง),
แมว(แก้ว), ลิง(แก่น) และเสือ(กล้า) ออกมากล่าวอวยพร “อายุ วรรณโน สุขัง พลัง”           




              เวลาดี 6 โมง กลับเป็นเด็กอีกครั้ง ร่วมกันชักธงชาติ และร้องเพลงชาติไปด้วย

        แม่งานได้แก่ อาจารย์ชนิศา ชงัดเวช ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร คอยกำกับงานตลอด เกณฑ์เหล่ามาสคอท มาเชิญประธานเปิดงานนาแขกผู้มีเกียรติและผู้ร่วมงาน ร้องเพลงชาติร่วมกัน (ดนตรีบรรเลงเพลงชาติ) แล้วร่วมชักธงชาติเวลา 6 โมง เก๋ไก๋ไปอีกแบบ เรียกเสียงหัวเราะได้เลย จากนั้นก็เข้าดูนิทรรศการกัน



                                             อ.ชณิศา นำประธานชมงาน





(งานเปิดแสดงนิทรรศการ ระหว่างวันที่30 กรกฎาคม ถึง 13 สิงหาคม 2553 (จานวน14 วัน)เว้นวันอาทิตย์) ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา10.00-18.00น
        









                                        ฝีมือ โกศล ทองด้วง จากสนพ.ห้องเรียน





                  ชุดนี้ ฝีมือพี่รงค์ หาดูยากแล้ว มีหลายภาพญี่ปุ่นเอาไปไม่ได้คืนกลับมา






                                         ภาพประกอบจากเรื่อง พระในบ้าน




งานของ สิทธิพร พวงสุข







ชุดนี้ ของพี่โอม รัชเวทย์




งานบางส่วนของพี่ สละ นาคบำรุง






การ์ตูนอนิเมชั่น



        ในงานก็มี การ์ตูนคอมมิคและภาพประกอบ มีเนื้อหากระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแนวคิดจิตใจ ส่งเสริมคุณธรรมในการดาเนินชีวิตด้วยวิถีพุทธ ทั้งการมองโลกในแง่ดี มีน้ำใจ ช่วยเหลือซี่งกันและกัน ความรักสามัคคีและการให้อภัย รวมทั้งส่งเสริมความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทยแก่เยาวชน มีทั้งผลงานของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนต่างๆ ทั้งผลงานจากนักเขียนการ์ตูนและนักวาดภาพประกอบอาชีพ อาทิ พี่โอม รัชเวทย์, พี่สละ นาคบารุง, คุณสุทธิชาติ ศราภัยวาณิช, คุณทรงศีล ทิวสมบุญ, คุณไตรภัค สุภวัฒนา, คุณวีระชัย ดวงพลา, วีระยุทธ เลิศสุดวิชัย และผลงานจากศิลปิน พี่รงค์ ณรงค์ ประภาสะโนบล(ชัยพฤกษ์การ์ตูน)
          ในนิทรรศการยังมี การ์ตูนอนิเมชั่น แสดงผลงานการ์ตูนอนิเมชั่นรวมทั้งสื่อวีดีทัศน์ และภาพยนตร์
มีรูปแบบและเทคนิคที่หลากหลาย ที่นำเสนอเนื้อหาส่งเสริมคุณธรรมและค่านิยมไทย จากผลงานนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และนักสร้างการ์ตูนอนิเมชั่นทั่วไป ผลงานแอนนิเมชั่น ของนักศึกษาที่ทำเรื่องของ อาจารย์ศิลปพีระศรี ทำได้ดีน่าสนใจ ตบท้ายด้วยเพลง ซานต้าลูเซีย เล่นเอาซึ้งเลย
         





          อยู่ในงานไม่นานนักต้องรีบไปธุระต่อ เลยร่ำลาพี่ๆ กลับก่อน แต่ขอชักภาพร่วมกันก่อนจาก ไว้เป็นที่ระลึก บรรยากาศเป็นกันเองพูดคุย เรื่องงาน เรื่องโน้นนี้กันอบอุ่นดี เสียดายแต่ประชาสัมพันธ์ไม่ทันเลยต้องขอย้อนหลังแบบนี้แหล่ะ


*ที่ขึ้นหัวย้อนหลังเพราะรายงานเอาไว้หลังกลับจากงานแล้ว แต่ติดงานศพคุณแม่ เลยหยุดไปจนพอมีเวลาเลยรายงานจากที่ค้างให้เสร็จ บอก อ.ชณิศ ว่าจะช่วยเขียนประชาสัมพันธ์ให้ แต่ด้วยเหตุสุดวิสัยจริงๆครับ


           ของฝากก่อนจาก วิธีเขียนการ์ตูน ของ อ.ประยูร จรรยาวงศ์ จากไทยรัฐ หาดูยากแล้ว เอามาฝากเผื่อใครเอาไปใช้เอาไปฝึก ต้องขอบคุณ พี่จิว(ดินหิน) ที่ส่งมาให้และขอบคุณรูปหมู่ นักวาดก่อนเข้าชมงานฝีมือถ่ายของ ลูกสาว พี่จิวครับ