Powered By Blogger

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทความดีๆ "ศิลปะเด็ก : ดอกไม้ในกำมือของผู้ใหญ่"

         บทความนี้ได้มาจากสูจิบัตรงานศิลปกรรรมเด็ก ปีนี้เอง เห็นว่ามีประโยชน์ เป็นแง่มุมของผู้เฝ้ามองศิลปะเด็ก และเป็นอาจารย์ศิลปะ ทัศนะของท่านจึงน่ารับฟัง บทความจาก รองศาตราจารย์เลิศ อานันทนะ ขออนุญาตอาจารย์ นำมาเผยแพร่มา ณ ที่นี้ด้วย





                     ศิลปะเด็ก :ดอกไม้ในกำมือของผู้ใหญ่


                                   "อย่าเด็ดดอกไม้เก็บเอาไปปักไว้ในแจกัน
                                    เพื่อหวังเชยชมเป็นของตัวเองคนเดียว"

                                       รองศาตราจารย์เลิศ อานันทนะ




                                 1

                           ศิลปะทำให้โลกนี้สวยงามสดใส

            ชีวิตของเด็กๆ เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์แห่งความคิด จินตนาการ เต็มไปด้วยสีสันสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกภายในจิตใต้สำนึกของเด็กที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง
งานศิลปะของเด็กเป็นความงามที่สะอาด บริสุทธ์ น่ารัก ประดุจดังของขวัญอันล้ำค่าที่พระเจ้าได้โปรดประทานลงมาจากฟากฟ้า ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินกลายเป็นมวลดอกไม้นานาพันธุ์ สู่ในใจคนเพื่อปลอบประโลมให้ชีวิตเบิกบาน เปี่ยมล้นด้วยความสุขสดชื่นอยู่ในใจของแต่ละคนสุดที่ใจเขาจะพึงปรารถนา
บทบาทของศิลปะไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพศและวัย ไม่กำหนดว่าจะต้องมีการศึกษาสูงส่งหรือต่ำต้อย มีฐานะร่ำรวยหรือว่ายากไร้ ศิลปะเป็นสมบัติของคนทุกคนเหมือนดังดอกไม้ที่ใครๆก็มีสิทธฺจะมองชื่นชมยินดีอย่างเท่าเทียมกัน
           ที่สำคัญ พึงระลึกไว้เสมอว่ามวลดอกไม้เหล่านั้นย่อมเป็นของคนทุกคนร่วมเป็นเจ้าของ ผู้ใหญ่พึงระวังอย่ายื่นมือออกไปเก็บดอกไม้เก็บเอาไปปักในแจกันเพื่อเชยชมเป็นของตัวเองคนเดียว

                                 2

                                   ดอกไม้ในกำมือของผู้ใหญ่


                บรรดาเจ้าของดอกไม้ ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี บางคนก็เห็นแก่ตัว ละโมภ คิดแต่จะแสวงหาผลประโยชน์จากดอกไม้นั้น เหมือนครูศิลปะบางคนที่มุ่งหวังรางวัลเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจที่จะพัฒนาความคิดจินตนาการและศิลปะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก เพราะพฤติกรรมของครูศิลปะบางคนมักจะแต่งกายสกปรก ไม่สุภาพเรีบยร้อย ชอบไว้หนวดไว้เคราปล่อยผมยาวรกรุงรัง ผิดวิสัยของความเป็นครู ไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กๆ กลับมุ่งยัดเยียดด้านเทคนิคและความคิดของครูใส่ลงไปในลงานศิลปะ โดยยืมมือของเด็กเขียนภาพส่งไปประกวดชิงรางวัลเพื่อเอาเปรียบเด็ก จากโรงเรียนอื่นๆ ส่วนโรงเรียนที่สอนดีๆ ตามอุดมการณ์ทางศิลปะจึงมักจะไม่ได้รางวัล เพราะมีจุดอ่อนทำงานศิลปะด้วยความบริสุทธิ์ แต่ขาดประสบการณ์ในการประกวดแข่งขัน ผลงานขาดความโดดเด่น ไสดุดตาเป็นที่น่าสนใจของกรรมการ ส่วนมากเด็กจะส่งไปตามลำพัง สังเกตเห็นได้จากลักษณะของผลงานที่ไม่มีผู้ใหญ่ช่วย ชเน ไม่มีการ์ดรองภาพ เขียนรายละเอียดข้อมูลไม่ครบถ้วน เด็กบางคนเขียนคำว่า"อายุ"ยังขาดสระอุ เพราะเป็นเด็กเล็กสุดในกลุ่มอายไม่เกิน 8 ปี ส่งไป เด็กๆประเภทนี้บางคนเป็นคนเก่งแต่ไม่มีคนช่วย ผลงานจึงมักถูกคัดออกไป ผิดจากโรงเรียนและครูศิลปะที่ได้รางวัลเป็นกอบเป็นกำจนมีชื่อเสียงรู้จักกันดี พวกนี้มักจะทำ"โรงเรียน"ให้เป็น"โรงงาน"เพื่อผลิตผลงานออกไปชิงรางวัลโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ เริ่มตั้งแต่การกำหนดความคิดการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว ลักษณะ รูปแบบ เทคนิควิธีการระบายสี แม้กระทั่งด้านหลังของผลงานก็มีผู้ใหญ่พิมพ์รายละเอียดมาให้ล่วงหน้า เด็กๆจึงมีสภาพคล้าย"หุ่นยนต์"ที่ทำท่าทางเคลื่อนไหวไปอย่างนั้นเอง จากการกดปุ่มของผู้ใหญ่ที่อยู่เบื้องหลัง




                                 3

                   รางวัลเป็นดาบสองคม : มีทั้งคุณและโทษ

                  ในการประกวดแข่งขันศิลปะมักจะมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นผู้คนส่งผลงานเข้าร่วม ดังจะเห็นได้จากวันเปิดพิธีมอบรางวัลจะมีผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ได้รางวัลมากันมากหน้าหลายตา แต่ในวันธรรมดาหลังจากนั้น จะมีคนดูน้อยมากแทบจะไม่มีคนดูเลยจนถึงวันปิดงาน
                  นี่คงสะท้อนให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่เห็นแก่รางวัลมากกว่าจะมองเห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวศิลปะใช่ไหม?
               โดยทั่วไปรางวัลเปรียบเหมือนเป็นดาบสองคม คือมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะมีสติปัญญารู้จักเลือกใช้ให้เกิดคุณประโยชน์หรือไม่
                ส่วนที่ป็นคุณ ข้อดี คือ รางวัลเป็นตัวกระตุ้นในการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดความตื่นตัว เพื่อชักจูงให้เกิดการร่วมงาน นอกจากนี้ รางวัลยังเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับและยกย่องในด้านฝีมือและความสามารถ โดยเฉพาะคนบางคนที่มีปมด้อยต้องการสร้างปมเด่น ตามหลักจิตวิทยาเพื่อทดแทนในสิ่งที่ตัวเองยังไม่มีหรือส่วนที่ขาดๆเกินๆไป
               ส่วนที่เป็นโทษ ข้อเสีย คือ ทำให้คนเห็นแก่ตัว คิดว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น ถ้าชนะก็รู้สึกดีใจ แต่ถ้าแพ้จะเสียใจ ส่งผลเสียให้แก่ศิลปะโดยส่วนรวม คือ แบ่งแยกคนที่รักศิลปะออกเป็น 2 ฝ่าย มีฝ่ายชนะ ฝ่ายแพ้
               คนที่ชนะก็รู้สึกอยากจะชนะไปเรื่อยๆ คนที่แพ้ก็รู้สึกอยากจะชนะบ้าง ถ้าทำไม่ได้ก็อาจจะกลายเป็นคนเกลียดศิลปะไปเลยก็ได้
               เด็กบางคนที่ได้รางวัลและผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องจะรู้สึกภาคภูมิใจตัวเอง เมื่อได้รางวัลมาครั้งหนึ่งแล้วก็อยากจะได้อีกเป็นครั้งที่สองและสาม เคยมีเด็กบางคนที่ได้รับรางวัลคนเดียวร้อยกว่ารางวัล นับทั้งโรงเรียนเป็นจำนวนเป็นพัน รางวัลจากฝีมือของครูศิลปะที่ทำลายความคิดจินตนการ ความไร้เรียงสาที่บริสุทธ์ของเด็กเพื่อแลกกับชื่อเสียง โล่ รางวัล ใบประกาศนียบัตรเอามาติดประดับไว้ในตู้โชว์ของโรงเรียน จนกระทั่งเด็กคนหนึ่งไปเรียนต่อสถาบันศิลปะ แต่สุดท้ายกลับไม่ประสบความสำเร็จ และพบกับสิ่งเลวร้ายที่สุดในชีวิต ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเองเก่งเหนือกว่าเพื่อนๆคนอื่น เวลาอาจารย์สั่งให้ทำงานอะไร ก็มักหลบเลี่ยง เห็นงานไม่มีความหมาย อะไรเป็นงานต่ำไม่สำคัญ เพราะเคยได้รับรางวัลระดับโลกมาแวนับไม่ถ้วน จะต้องเป็นงานที่คิดว่าสำคัญจริงๆ หรือมีรางวัลรออยู่ข้างหน้าจึงจะทำ เกิดความลุ่มหลงในตัวเอง โดยคิดว่าไม่มีใครยอมรับความยิ่งใหญ่ที่เคยได้รับรางวัลมาอย่างมากมายในอดีต จึงตัดสินใจกระโดดตึกหอพักบนชั้น 6 ลงมาตายอย่างอนาถ
              นี่เป็นอุทาหรณ์สอนใจให้รู้ว่ารางวัลย่อมเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับผู้รับและผู้ให้พึงใช้สติปัญญาคิดใคร่ครวญให้ถี่ถ้วน อย่าหลงมัวเมา งมงายอยู่ติดกับสิ่งของที่อยู่นอกกาย อันรางวัลใดๆในโลกนั้น ล้วนสร้างขึ้นเพื่อจูงใจเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างสรรค์ เป็นผลพลอยได้เท่านั้น แต่จุดหมายที่แท้จริง คือการพัฒนาความคิดจินตนาการอันไร้ขอบเขตจำกัด (Infinity) นั่นเอง
                  
                                 4

                                   อย่ามองผู้อื่นเป็นศัตรู

            ปัจจุบันนี้แนวโน้มใหม่ทั่วโลกต่างได้ปรับเปลี่ยนท่าทีของการประกวดแข่งขันกันใหม่ กล่าวคือ ไม่มองคู่แข่งขันหรือฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นศรัตรู เปลี่ยนสภาพการแข่งขันเป็นการร่วมมือ เปลี่ยนการจ้องมองคู่แข่งขันว่ากำลังทำอะไรมาเป็นการปรึกษาหารือ ปรับเปลี่ยนท่าทีความรู้สึกเป็นศัตรูมาเป็นมิตร แทนที่จะต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ตัวใครตัวมัน ใครดีใครได้
            จากการเปลี่ยนแปลงท่าทีดังกล่าวนี้ ย่อมลดกระแสความรู้สึกการเป็นผู้แพ้ ผู้ชนะ เพราะได้หันมาอยู่ฝ่ายเดียวกัน คือ มีแต่ผู้ชนะ-ชนะ (WIN-WIN) เท่านั้น





                                  5

                             สิ่งที่สวยงามอาจไม่ใช่ศิลปะ

                   มีคนจำนวนไม่น้อยมักเข้าใจผิดว่า สิ่งที่มองเห็นว่าสวยงามนั้น"เป็นศิลปะ" ส่วนที่มองเห็นว่าไม่สวยงามทั้งสิ่งที่แลดูน่าเกลียด น่ากลัว สิ่งที่แปลกๆไปจากธรรมดา สิ่งที่เกินจริงหรือเหนือความเป็นจริง ตลอดจนสิ่งที่ไม่เป็นจริงตามที่นัยน์ตามองเห็นนั้นๆว่า"ไม่ใช่ศิลปะ"
                   โดยธรรมชาติของศิลปะย่อมไม่อาจจะชี้ชัดลงไปว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่คนที่คิดว่าสิ่งสวยงามเป็นศิลปะนั้นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะอาจเป็นความสวยงามธรรมดา ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ศิลปะก็ได้ โดยเฉพาะพวกผู้ใหญ่บางคนที่มักพูดชี้นำกำกับและบงการ สั่งให้แก้ไขงานศิลปะของเด็กแบบชนิดแก้โน่นแก้นี่ เพื่อให้ถูกใจตนเอง เมื่อเห็นเด็กวาดรูปโย้เย้ ผิดขนาดสัดส่วนต่างๆ นานา ตามมาตราฐานของตัวเอง รบกวนควารู้สึกนัยน์ตาของผู้ใหญ่ นี่คือ ยาพิษที่เจือปนมากับคำสอนที่แฝงไว้ด้วยความปรารถนาดีที่หยิบยื่นมาให้แก่เด็ก
                  ผลจากการถูกกระทำดังกล่าว ภาพเขียนและผลงานศิลปะเด็กที่บริสุทธิ์จำนวนมากจึงถูกทำลายลง การแสดงออกทางความคิดจินตนาการ (Imagination) สูญสิ้นไป เหลือไว้เพียงภาพสวยๆ เทคนิคและฝีมือที่จัดจ้าน กับความคิดที่ตายด้านนิ สัยที่ชอบลอกเลียนแบบ ไร้จินตนาการ


                                 6

                                การสร้างองค์ความรู้
        ความสัมพันธ์เชื่อมโยง : ศาสนา วิทยาศสาตร์  ศิลปะ

                       ตารางเปรียบเทียบแสดงความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยง
 



                          ที่มา"พระพุทธศาสนาและการศึกษาแผนใหม่"ศาตราจารย์ ดร.สาโรจ บัวศรี 2520
                       เพิ่มเติมตารางเปรียบเทียบ "วิธีสร้างสรรค์ทัศนะศิลป์" โดย รองศาตราจารย์ เลิศ อานันทนะ 2548





                                 7

                          แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมศิลปะเด็ก

          ยังมีความเข้าที่สับสนเกี่ยวกับศิลปะเด็ก (Childrens Art) บางประการ อันมีผลทำให้การส่งเสริมกิจกรรมศิลปะเด็กไม่เหมาะสม สืบเนื่องมาจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ คนทั่วไปมักเข้าใจว่ากิจกรรมศิลปะเด็ก คือ การเตรียมสร้างคนให้เติบโตขึ้นเป็นศิลปินหรือจิตรกรในอนาคต
               ศิลปะเด็กหรือชื่อเรียกในระบบการศึกษาว่า ศิลปศึกษา (Art Education) หรือ ทัศนศิลป์ (Visual Art) โดยนำเอาศิลปะเป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิถีชีวิตของเด็กๆใน 4 ด้าน ดังนี้
                               
                                1.สติปัญญา มีความคิดจินตนาการ คิดสร้างสรรค์
                                2.อารมณ์จิตใจ มีสุขภาพจิตและรสนิยมที่ดี
                                3. ร่างกาย สุขภาพแข็งแรง ตาและมือทำงานสัมพันธ์กัน
                                4.สังคม สิ่งแวดล้อม รู้จักปรับตัว มีชีวิตอย่างมีความสุข

               โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีการแสดงออกทางศิลปะอย่างอิสระเสรี เพื่อพัตนาความคิดจินตนาการให้เจริญสูงสุดตามศักยภาพของเด็กในแต่ละช่วงวัย ด้วยกิจกรรมศิลปะ เทคนิควิธีสอนจิตวิทยาการศึกษา สื่อการเรียน วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก แต่ไม่มีจุดหมายเพื่อให้เด็กทำงานศิลปะแบบผู้ใหญ่ เมื่อเด็กเติบโตขึ้นหรือจบการศึกษาในระดับหนึ่งๆ อาจจะเลือกประกอบวิชาชีพต่างๆที่เหมาะสมกับตัวเองก็ได้ เช่น แพทย์ พยาบาล ครู ทหาร ตำรวจ นักธุรกิจ สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น
              ดังนั้น บทบาทของผู้ใหญ่ในการส่งเสริมศิลปะเด็กพึงระลึกถึงหลัก 3 ประการดังนี้
                      
                               1.ส่งเสริมกำลังใจให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
                               2.ไม่คาดหวังและต้องการได้รางวัลหรือสิ่งตอบแทนใดๆ
                               3.ให้มีศิลปะนิสัยที่ดีอย่างยั่งยืน
             ถ้าหากสามารถทำได้ดังกล่าวนี้ ถือว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว และประสบความสำเร็จในการส่งเสริมกิจกรมศิลปะเด็กในระดับหนึ่งแล้ว

             ที่สำคัญ คือ ผู้ใหญ่อย่าครอบงำความคิดของเด็ก ควรให้เด็กใช้ความคิดจินตนาการด้วยตัวเอง

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ย้อนหลัง ประกวดวาดภาพกับ"โชคดีติ่มซำ"

ผลการประกวดภาพวาดวันเด็ก ตั้งแต่ ก.พ.2553 โน่น ผลงานส่งประกวดวาดภาพในโครงการวาดภาพระบายสี ชิงทุนการศึกษา กับโชคดีติ่มซำ ชุดสุดท้ายที่นำมาอวดกันเป็นของรุ่น

ระดับประถมต้น ป.1-ป.3
ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 4-6
ระดับชั้มัธยมศึกษาที่ 1-3

หัวข้อ "โชคดีที่หนูเป็นคนไทย" เห็นว่ามีงานสวยๆ ของเด็กๆน่าสนใจดี เลยเอาภาพมาให้ดู ตามลิงค์ ข้างล่างสุดเลย
ดูภาพวาดที่นี่ (เนื่องจากไฟล์รูปงานเล็กเลยไม่สามารถลงรูปงานศิลปะของน้องได้ ตามไปดูข้างล่างเลย)

http://www.chokdeedimsum.com/th/news-view.php?id=32

http://www.chokdeedimsum.com/th/news-view.php?id=30

http://www.chokdeedimsum.com/th/news-view.php?id=31  

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผลประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๕






ผลการตัดสินการประกวดศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๕

ตามที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดประกวดศิลปกรรม
เด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ เพื่อสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนของชาติ ทุกระดับได้ตระหนัก
และเห็นคุณค่าของศิลปกรรมสาขาต่างๆ อีกทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนเกิดการพัฒนา
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม ทำให้ได้ผลงานศิลปกรรมของเด็กและเยาวชน ไว้เป็นสมบัติ
ของชาติเพื่อการศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมที่สำคัญของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั้น


          กมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวรายงาน

บัดนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรม ได้ดำเนินการคัดเลือกและตัดสิน
ผลงานศิลปกรรมที่ส่งเข้าประกวด เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ประกาศผล และจัดพิธีมอบรางวัลงานศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวัน พฤหัสที่ 10 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ที่หอศิลป์เจ้าฟ้า เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ


        ปรากฏผลการตัดสินดังนี้



               ด.ช.ฐนกร เทียนดาห์ รับรางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง กับ รมต.วัฒนธรรมฯใหม่แกะกล่อง


               จิตรกรน้อย ระดับอายุไม่เกิน ๘ ปี ถ่ายรูปหมู่

ระดับอายุไม่เกิน ๘ ปี

รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ๑ รางวัล เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท
๑. ด.ช.ฐนกร เทียนดาห์
รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ๒ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๘,๐๐๐ บาท
๑. ด.ช.พงษ์ไพโรจน์ เลิศสุดวิชัย
๒. ด.ช.ตุลาธร ปรัชญาอภิบาล
รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง ๗ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
๑. ด.ญ.ภัทราทิพย์ นุชน้อย
๒. ด.ญ.บวรรัตน์ สระสรม
๓. ด.ช.ธีไรวินท์ คงวารี
๔. ด.ญ. ปฑิตตา เถินบุรินทร์
๕. ด.ญ.วรรณิกา บุญเจริญ
๖. ด.ช.ศุภกฤต สมัมปิโต
๗. ด.ช.ศิลวัต ปรีชานุวัฒน์
รางวัลชมเชย ๓ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๒,๕๐๐ บาท
๑. ด.ช.กุมภ์ ฉัตรชาตรี
๒. ด.ช.ภูบดี ไทยรัตน์
๓. ด.ญ.วินี เศรษฐโชตินันท์

รางวัลพิเศษมูลนิธิศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี ๑ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
๑. ด.ญ.นัชชา พัฒนพงษ์ศักดิ์

ระดับอายุ ๙ - ๑๒ ปี
รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ๑ รางวัล เงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท
๑. ด.ช. ฐิติโชติ พรรัตน์
รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ๒ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๙,๐๐๐ บาท
๑. ด.ช. ทิวทัศน์ คะนะมะ
๒. ด.ช. เอกมันตุ์ บุญสิทธิ์
รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง ๗ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท
๑. ด.ช. จารุภัทร นำพูลสุขสันต์
๒. ด.ญ. ธนิสา สิทธิชัย
๓. ด.ญ. ณัฎฐา พัชรเวทิน
๔. ด.ช.นิธิศ เซ็นน้อย
๕. ด.ช. ธปนวงศ์ ภมรพงศ์อัมพร
๖. ด.ญ. อรญา พิมพา
๗. ด.ช. อนันดา สุดประสงค์
รางวัลชมเชย ๓ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท
๑. ด.ญ.ธันยพร สุขโต
๒. ด.ช. กัญจน์ สินธวณรงค์
๓. ด.ช. จิรวัฒน์ เฌอมือ
รางวัลพิเศษมูลนิธิศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี ๑ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท
๑. ด.ญ.ธัญญ่า วอลเตอร์

ระดับอายุ ๑๓ - ๑๖ ปี



รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ๑ รางวัล เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท
๑. น.ส.เดือนวิสาข์ ชลศิริ
รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ๒ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
๑. ด.ญ.ปณวลี ศรี
๒. นายณัฐวุฒิ ธูมะโนวัฒน์



        ด.ช.เทิดธันวา คะนะมะ  รับรางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง

รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง ๗ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๗,๐๐๐ บาท
๑. น.ส.อารยา แผนพรหม
๒. นายสรวีย์ เรืองฤทธ์กุล
๓. นายพีรชัย มัติโก
๔. ด.ญ.ณัฐริกา แจ้งแสง
๕. ด.ญ.มานิตา สาวันดี
๖. ด.ช.เทิดธันวา คะนะมะ
๗. ด.ญ.นลินรัตน์ จันทร์สมวงศ์
รางวัลชมเชย ๓ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๓,๕๐๐ บาท
๑. ด.ญ.อารดา ทองแถม ณ อยุธยา
๒. นายอรรถพล ภูมิลักษณ์
๓. น.ส.ทักษพร กล้ากสิกิจ

ระดับอายุ ๑๗ - ๒๐ ปี




รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ๑ รางวัล เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท
๑. นายนิพนธ์ พรมสุภา
รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ๒ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๑๕,๐๐๐ บาท
๑. นายมูฮัมหมัดซุรียี มะซู
๒. นายณงค์ฤทธิ์ กาลวิตร์
รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง ๗ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๘,๐๐๐ บาท
๑. นายศรราม รวงกลาง
๒. น.ส.สุวัลญา ศักดิ์สมบัติ
๓. นายนันทชัย ใจอารีย์
๔. น.ส.ไปรยา เกตุกูล
๕. น.ส.พลอยบุศรินทร์ พูนศินิวงศ์
๖. น.ส.พิชชานันท์ สอนเย็น
๗. นายชัชชัยวัชร ชังชู
รางวัลชมเชย ๓ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๔,๐๐๐ บาท
๑. น.ส.ยามีล๊ะ หะยี
๒. นายอภิวัฒน์ ปะกิระเณย์
๓. น.ส.มนธิชา ดาราวรรณกูล
รางวัลพิเศษมูลนิธิศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี ๑ รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ ๘,๐๐๐ บาท
๑. นายฐิติวัจน์ ดั้นไพรสน










              รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง นายชัชชัยวัชร ชังชู  อายุ 17-20 ปี



             รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ด.ช.ฐิติโชติ พรรัตน์ อายุ 9-12 ปี



                 รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ด.ช. ทิวทัศน์ คะนะมะ อายุ 9-12 ปี



              รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน ด.ญ.ปณวลี ศรี อายุ 13-16 ปี




   รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง ด.ช.เทิดธันวา คะนะมะ อายุ 13-16 ปี


     รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง นายนิพนธ์ พรมสุภา อายุ 17-20 ปี



    รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน นายมูฮัมหมัดซุรียี มะซู อายุ 17-20 ปี


  รางวัลศิลปกรรมเหรียญทองแดง น.ส.พลอยบุศรินทร์ พูนศินิวงศ์ อายุ 17-20 ปี


              รางวัลศิลปกรรมเหรียญเงิน นายณงค์ฤทธิ์ กาลวิตร์  อายุ 17-20 ปี






             น.ส.เดือนวิสาข์ ชลศิริ รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง อายุ 13-16 ปี




            ด.ช.ฐนกร เทียนดาห์ รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง อายุไม่เกิน 8 ปี



           ด.ญ. ปฑิตตา เถินบุรินทร์ รางวัลเหรียญทองแดง อายุไม่เกิน 8 ปี




ใครเป็นใครบ้าง งานนี้เลยเอาภาพพิธีมอบรางวัล กับหน้าตาของเจ้าของและผลงานศิลปะของเด็กๆบางส่วนมาให้ดูกัน ส่วนงานจัดแสดงที่หอศิลป์เจ้าฟ้า ตั้งแต่ 10 มิถุนายนไปจนถึง 30 มิถุนายนนี้(2553)

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Colgate "My Bright Smile" เด็กๆ 6-9 ปี แข่งวาดภาพสด


      

       เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา บริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดการประกวดวาดภาพระบายสี โครงการ "My Bright Smile" Global Art Contest  เพื่อให้ส่งเสริมน้องๆเด็กๆ ได้ถ่ายทอดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านงานศิลปะ งานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง รอยยิ้มสดใสของเด็กๆทั่วโลก โดยให้เด็กๆอายุระหว่าง 6-9 ปี ได้ร่วมกันแข่งขันวาดภาพสด ณ ห้องประชุมบริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด เลยนำภาพกิจกรรมมาให้ดูกัน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนภาพให้ห้องการแข่งขันไม่มีให้ชมเพราะ งานนี้เข้มงวดมาก ประกวดจากฝีมือเด็กๆจริง ผู้ไม่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่จะเชิญออกนอกห้อง ช่างภาพก็ถ่ายไม่ได้ จึงมีภาพการอบรมกิจกรรม  Workshop จากครูศิลปะ และภาพเด็กๆที่ได้รับรางวัลมาให้ดูกัน งานวาดกันสด ในเวลา 3 ช.ม. และตัดสินกันเลย เห็นเด็กทำกิจกรรมกันแล้วก็สนุกสนานดี

        หลังจากประธานกล่าวเปิดงาน ก็เป็นการอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวาดภาพการทำงานศิลปะ





                      ตัวอย่างเทคนิคต่างๆที่นำมาเสนอเด็กๆ ใช้ในการวาดภาพ


                                    นั่งฟังกันอย่างตั้งใจ


โดย ครูสังคม ทองมี และครูจากสถานบันสอนศิลปะ อีกสองคน ก็แนะนำเรื่องการใช้เส้น การลงสี การจัดภาพ มาถึงเรื่อง ความคิดในการที่จะวาดภาพออกมาให้ตรงกับหัวข้อ ต้องมี ความคิด,เรื่อง และความสวยงาม







                                       ร่วมมือร่วมใจกันวาดภาพแต่ละกลุ่ม









                                กลุ่มนี้วาด,ลงสีอย่างเดียวไม่พูดไม่จากันเลย






                               ครูสังคม เอาตำรากางให้เด็กๆดูเทคนิคทีศิลปินใช้กัน




นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องเทคนิคการลงสี แล้วปล่อยให้เด็กแบ่งกลุ่มละ 4-5 คน ช่วยการลงสีแต่งเติมภาพ



                                       นำเสนอความคิดของแต่ละกลุ่ม



และเทคนิคที่ครูผู้อบรมให้มา จากนั้นก็ออกมาช่วยกันนำเสนอ เด็กแบ่งกลุ่มนั่งทำกันอย่างน่ารัก สนุกสนาน บางกลุ่มก็แย่งกันทำ บางกลุ่มก็เกรงใจกันไม่พูดไม่คุยกัน ยังเขินๆกันอยู่



                                  กองทัพเดินด้วยท้อง...มีอะไรน่ากินบ้างนี่





      จากนั้นพักเติมพลังด้วยมื้อกลางวันสำหรับหนูๆจนอิ่ม(ไม่รู้จะง่วงกันบ้างหรือเปล่า) เที่ยงก็ได้เวลาลุย เห็นครู ผู้ปกครองสั่งเสียกันน่าดู เพราะเด็กๆจะต้องอยู่ในห้องแข่งขันถึง 3 ช.ม. ผู้ปกครองกังวลว่าจะทำได้หรือไม่แค่นั้นแหล่ะ รางวัลคงไม่สนใจมากห่วงเด็กมากกว่า เพราะดูผู้ปกครองหลายท่านจะบอกเจ้าหน้าที่ให้ช่วยดูแลลูกๆให้ด้วย
บางคนเปิดขวดสียังค่อยเป็นเลย กลัวสีจะหก หรือดูเวลาไม่เป็น บางคนทำได้แค่ชั่วโมงต้องเบรกต้องพัก แต่ไม่ได้รับอนุญาติให้ออกจากห้อง ยกเว้นเข้าห้องน้ำก็ยังต้องมีเจ้าหน้าที่คอยตามประกบตลอดเวลา เข้มขนาดไหนคิดดู
     ลืมบอกไปว่า จำนวนเด็กที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 40 คน ได้รับการคัดเลือกจากการส่งประวัติผลงาน ของเด็กๆที่มีรางวัลจากการประกวดจากที่อื่นๆ มายืนยันว่าเข้าเกณฑ์ที่จะได้การพิจารณาผ่านเข้ามาแข่งขันในรอบสุดท้ายนี้ เรียกว่าเก่งๆกันทั้งนั้น และวันแข่งขันต้องแต่งชุดนักเรียนมาด้วย อุปกรณ์การลงสีก็ต้องนำมาเอง เพราะเป็นความถนัดและเทคนิคของแต่ละคน แต่ทางเจ้าหน้าที่ประกวดมีกะดาษให้ในขนาด 11x17 นิ้ว



                                     
                                     

                                 

                                              ประกาศผล 12 ชิ้นงานที่ได้รับรางวัล
                                 


                                                  3 ใน 12 ภาพของผู้ชนะเลิศ














            ภาพผู้ชนะเลิศทั้งหมดจะเป็นตัวแทนของประเทศไทย ไปแข่งที่อเมริกาต่อ

โดยผู้ชนะการแข่งขันทั้ง 12 คน นอกจากได้รับรางวัลชนะเลิศ แล้วทางคอลเกตจะนำทั้ง 12 ภาพนี้ ส่งไปร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติในโครงการ Colgate "My Bright Smile" Global Art Contest ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ก็จะถูกนำไปพิมพ์ลงปฏิทินปี 2011 (Global Calendar) ที่ทางคอลเกตจะแจกไปทั่วโลก เป็นเรื่องน่าตื้นเต้น ส่วนเด็กไทยจะมีโอกาสแค่ไหน
ก็ต้องเอาใจช่วยกันต่อไป


จาก นสพ. มติชน อาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2553