Powered By Blogger

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ชวนไปดูงาน มหกรรมศิลปศึกษา-ช่างศิลป์ 2553









     18.00 น.ได้เวลาเปิดงานมหกรรมศิลปศึกษา-ช่างศิลป์( 1-30 พ.ย. 2553 นี้ เว้นวันพุธ ) โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม ณ หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ วันรวมเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ และอาจารย์ที่เคารพรัก กลับมาพบกันอีกครั้ง แต่ละรุ่นก็ห่างหายกันไปและหายไปเลยก็มาก ที่เหลือเป็นตัวแทนแต่ละห้องแต่ละรุ่นกันมา ห้องละคน บางรุ่นก็หายไปทั้งรุ่นเลย แต่ก็ยังอบอุ่นที่พี่รุ่นโตๆ(ก็อาจารย์เรานั่นแหล่ะ) มากันมาก เลยเก็บภาพและผลงานศิลปะมาให้ดูกัน งานนี้การกุศลครับรายได้จากการจำหน่าย เป็นทุนการศึกษา แก่นักเรียนและสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับวิทยาลัยช่างศิลป์



       
                   ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม กล่าวเปิดงาน











         ประธานเปิดงาน ,อธิการบดีฯ กมล,นายกสมาคมศิษย์เก่าช่างศิลป์ ร่วมกันตัดริบบิ้น



























           ผลงานมีทั้งศิษย์เก่าตั้งแต่รุ่นแรกๆจนถึงรุ่นปัจจุบัน(เข้าใจว่าตอนนี้น่าจะรุ่นที่ 56 แล้ว) รูปแบบงานก็มีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม เครื่องเคลือบดินเผา งานเครื่องเคลือบดินเผา งานตกแต่งและอื่นๆ ประมาณ 500 ชิ้นได้ นอกจากศิษ์เก่าแล้ว ยังมีศิลปินรับเชิญ อาจารย์ผู้สอน และผู้ฝึกอบรมศิลปะบุคคลภายนอก
           ช่างศิลป์ เมื่อก่อนเป็นโรงเรียนศึกษาด้านศิลปกรรม ศาสตราจารย์อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี เพื่อให้เป็นโรงเรียนเตรียมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2495 แล้วขยายเติบโตจนเป็นโรงเรียนช่างศิลปและ วิทยาลัยช่างศิลป เป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรมในปัจจุบัน (อ่านประวัติเพิ่มเติมที่  http://cfa.bpi.ac.th/sub2-2.html )
           นึกถึงสมัยเรียน ที่ลาดกระบัง ไว้ว่างๆจะลองเล่าบรรยากาศสมัยที่เทียวไป-มา หัวตะเข้-หัวลำโพง อยู่ 3 ปี เผื่อมีโอกาสไปเก็บภาพถ่ายที่หัวตะเข้มาฝาก ไม่รู้จะเปลี่ยนไปมากขนาดไหน ไม่ได้แวะไปสัก5-6 ปีแล้ว วันงานได้เจอครูที่สอนสมัยเรียนไม่มาก บางท่านก็อายุมากมาก็ลำบาก ได้เจอครูวัลลี ครู(คำว่าครู เขาว่ายิ่งใหญ่และเป็นผู้ให้มากกว่าคำว่าอาจารย์ในสมัยนี้)ประจำชั้นและครูคนแรกที่สอนวิชา ดรออิ้ง ครั้งแรกที่ได้เรียน วาดเส้น จริงๆจังๆ ที่สอบเข้ามาได้นี่ไม่ใช่ดรอดิ้งที่ถูกต้องอาศัยความสามารถ(มั่ว)  เรียนมัธยมมาก็เป็นวิชาศิลปะแบบทั่วๆไป เลยเข้าไปกราบคุณครูวัลลี ที่ให้ความรู้ปูพื้นฐานให้ ถามครูว่าไม่ย้ายไปสอนที่อื่นตามครูหลายๆท่านบ้างหรือ ครูบอกว่าสอนที่นี่แหล่ะ เพราะพื้นฐานศิลปะที่สำคัญ อยู่ที่ช่วงปีแรกๆที่เริ่มเรียนศิลปะเพราะถ้าพื้นฐานดรออิ้งไม่ดีก้าวต่อไปก็คงไปไม่ไกล ได้ยินแล้วซึ้งเลยนึกถึงตัวเองว่าถ้าไม่ได้เรียนวาดเส้นพื้นฐานทั้งวิถีเส้น แสงเงาฯลฯ คงวาดรูปไม่เป็น วาดเส้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ขอบคุณคุณครูวัลลี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (รุ่น 20) ที่เคารพเป็นอย่างสูงด้วยครับ



                             ครูวัลลี โฆษณา นิทาน"พระในบ้าน"ให้ซะเลย


           ชวนให้มาชมงานออกนอกเรื่องไปนิด ฝากผลงานที่เก็บมาบางส่วน งานยังมีแสดงอยู่ถึง 30 พ.ย. 2553 นี้ ที่หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 101 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. เว้นวันพุธ นะครับ











ครูผู้ให้  สงกาศ บุญญาสัย







คืนสุข :  บุญพันธุ์ วงศ์ภักดี



จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน  วุฒิ รัตนเกาศัลย์




สองภาพบนของผมเองครับ(คนละเรื่องกับงานภาพนิทานเลย)



นักโกงเมือง : ไทรเติ้ล เงาะอาศัย



สร้างบุญ : หนึ่งฤทัย เผือกเพี้ยน











วิถีริมน้ำ : จิรติณห์  ศรเดช




2 ภาพบนของเพื่อนร่วมรุ่น  สานิต เธียรวรรณ










































ทิวทัศน์ระหว่างทาง : ทินกร กาญจนศิริ